การดูแลกีบเท้าของโคเป็นเรื่องสำคัญและเกี่ยวข้องกับการจัดการฟาร์มเพื่อให้ได้ผลผลิตน้ำนมที่ดีจากแม่โคนม เนื่องจากส่วนกีบเท้าต้องทำหน้าที่คล้ายกับรองเท้าของมนุษย์ กล่าวคือต้องปกป้องอันตรายหรือสิ่งที่อาจทำให้ เกิดความเจ็บปวดแก่ส่วนเท้าที่ใช้ก้าวเดินบนพื้นดินแล้ว กีบเท้ายังต้องแบกรับตัวโค ซึ่งมีน้ำหนักมาก โดยเฉลี่ยแม่โคมีน้ำหนักประมาณ 400 กิโลกรัมปัญหาที่เกิดกับกีบเท้าของโคคือ เมื่อกีบมีลักษณะผิดปกติหรือเกิดความเสียหายขึ้น โคไม่สามารถจะเปลี่ยน กีบเท้าได้ ไม่เหมือนมนุษย์ ซึ่งหากรองเท้าที่สวมใส่เกิดชำรุดใช้การไม่ดีก็สามารถเปลี่ยนใหม่ได้ กีบเท้าโคมี ลักษณะเหมือนเล็บเท้าของมนุษย์ ที่สามารถงอกยาวได้และเป็นส่วนที่แข็งเกิดจากเนื้อเยื่อสร้างกีบของนิ้วเท้า ที่สร้างออกมาตลอดเวลาเนื้อเยื่อนิ้วเท้าส่วนที่สร้างกีบของโคนั้นยังสามารถบ่งบอกสุขภาพของโคได้ กล่าวคือหากแม่โคซึ่งมีน้ำหนักมาก เกิดภาวะความเครียดหรืออยู่ในช่วงระยะตั้งท้องหรือในช่วงระยะที่ขาดสารอาหาร เช่น ฤดูแล้ง เป็นต้น การสร้างเนื้อกีบจะเกิดความผิดปกติ อาจบิดเบี้ยวโค้งงอ หรือเป็นร่อง และอาจเกิดความเจ็บปวดขึ้นภายในเนื้อเยื่อ สร้างกีบอีกด้วย ทำให้แม่โคเจ็บเท้าและให้ผลผลิตน้ำนมลดลง การดูแลและแก้ไขให้กีบเท้ามีรูปร่างลักษณะปกติและแข็งแรง จึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำอย่างสม่ำเสมอ
การตัดแต่งกีบเท้าโดยทั่วไป
ขั้นตอนการปฏิบัติการตัดแต่งกีบโค ประกอบด้วย
1. การควบคุมขาโค
2. การใช้คีมตัดกีบและมีดแต่งกีบ
3. การตรวจสอบ วางแผน และลงมือตัดแต่งกีบ
เครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการตัดแต่งกีบโคนม
1. มีดแต่งกีบ ลักษณะใบมีดโค้ง ปลายงอหักมุม คมมีดด้านในหน้าเดียว มีด้ามจับแบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบสำหรับบุคคลที่ถนัดมือขวา และแบบสำหรับบุคคลที่ถนัดมือซ้าย ตัวอย่างดังรูป
2. คีมตัดกีบ ลักษณะคล้ายคีมปากนกแก้ว แต่ขนาดใหญ่กว่า ตัวอย่างดังรูป
3. อุปกรณ์อื่น ๆ ได้แก่ สิ่ว ฆ้อน หมอนรองกีบ ถุงหนังหุ้มกีบ และเครื่องมือป้องกันโคเตะ เป็นต้น
การควบคุมขาโค
ในกรณีใช้อุปกรณ์ช่วยยกและบังคับขาโค
การควบคุมโคและขาโค ควรมีผู้ช่วยประคองตัวโค ในขณะที่ผู้ตัดแต่งกีบลงมือทำงาน การยกขาหลังขึ้นสามารถใช้เชือกผูกรัดขาโคบริเวณข้อเท้าดึงขึ้นรั้งกับคานที่อยู่เหนือขึ้นไป หลังจากนั้นผู้ตัดแต่งกีบจะต้องเข้า ควบคุมขานั้นทันที่ เพื่อไม่ให้โคเสียศูนย์ ซึ่งอาจทำให้ล้มหรือบาดเจ็บได้ ในกรณียกขาโคด้วยมือ (เฉพาะกรณี โคเชื่องมาก เท่านั้น)
การยกขาหน้าขวาด้วยมือ ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. ยืนชิดตัวโค สอดเข่าของผู้ปฏิบัติเข้าไปบริเวณพับในด้านหน้าของขาหน้าของโค
2. โน้มตัวลง พร้อมกับสอดแขนขวาชิดลำตัวโค ลงไประหว่างขาพับด้านหลังของขาหน้าโค
3. โน้มหัวไหล่ขวาดันตัวโค ให้น้ำหนักตัวโคถ่ายเทไปยังขาหน้าซ้าย
4. ใช้มือซ้าย จับข้อเท้าโคยกขึ้น แล้ววางขาหน้าของโค บนหน้าขาของผู้ปฏิบัติ
การยกขาหลังซ้ายด้วยมือ ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. สอดเข่าซ้ายของผู้ปฏิบัติชิดข้อขาหลังซ้ายของโค
2. โน้มตัวลง พร้อมกับสอดแขนซ้ายลงไปตามขาหลังด้านพับในจนถึงข้อเท้า
3. โน้มตัว ดันตัวโคให้น้ำหนักโค ถ่ายเทลงไปที่ขาอีกข้างของโค
4. ยกข้อเท้าขาหลังขึ้น วางบนข้อเข่าของผู้ปฏิบัติ
ข้อควรระวัง ในระหว่างการจับยกขาหลัง ผู้ปฏิบัติต้องระวังอย่ายืนบริเวณด้านหลังของขาหลังของโคเป็นอันขาด
1. มีดแต่งกีบ ลักษณะใบมีดโค้ง ปลายงอหักมุม คมมีดด้านในหน้าเดียว มีด้ามจับแบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบสำหรับบุคคลที่ถนัดมือขวา และแบบสำหรับบุคคลที่ถนัดมือซ้าย ตัวอย่างดังรูป
การควบคุมขาโค
ในกรณีใช้อุปกรณ์ช่วยยกและบังคับขาโค
1. ยืนชิดตัวโค สอดเข่าของผู้ปฏิบัติเข้าไปบริเวณพับในด้านหน้าของขาหน้าของโค
2. โน้มตัวลง พร้อมกับสอดแขนขวาชิดลำตัวโค ลงไประหว่างขาพับด้านหลังของขาหน้าโค
3. โน้มหัวไหล่ขวาดันตัวโค ให้น้ำหนักตัวโคถ่ายเทไปยังขาหน้าซ้าย
4. ใช้มือซ้าย จับข้อเท้าโคยกขึ้น แล้ววางขาหน้าของโค บนหน้าขาของผู้ปฏิบัติ
การยกขาหลังซ้ายด้วยมือ ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. สอดเข่าซ้ายของผู้ปฏิบัติชิดข้อขาหลังซ้ายของโค
2. โน้มตัวลง พร้อมกับสอดแขนซ้ายลงไปตามขาหลังด้านพับในจนถึงข้อเท้า
3. โน้มตัว ดันตัวโคให้น้ำหนักโค ถ่ายเทลงไปที่ขาอีกข้างของโค
4. ยกข้อเท้าขาหลังขึ้น วางบนข้อเข่าของผู้ปฏิบัติ
ข้อควรระวัง ในระหว่างการจับยกขาหลัง ผู้ปฏิบัติต้องระวังอย่ายืนบริเวณด้านหลังของขาหลังของโคเป็นอันขาด
การจับมีดสำหรับการตัดแต่งกีบโคนม
1. เลือกใช้มีดแต่งกีบโค ให้เหมาะกับมือที่ถนัด แล้วจับด้ามมีดให้แน่น
2. การปาดกีบ ใช้วิธีปาดขึ้น หรือปาดลง โดยการหมุนเปลี่ยนข้อมือ
3. ในระหว่างการปาดกีบทุกครั้ง ให้ระวังนิ้วมืออาจได้รับอันตรายได้ โดยการวางนิ้วมือให้อยู่หลังคมมีดเสมอ
2. การปาดกีบ ใช้วิธีปาดขึ้น หรือปาดลง โดยการหมุนเปลี่ยนข้อมือ
3. ในระหว่างการปาดกีบทุกครั้ง ให้ระวังนิ้วมืออาจได้รับอันตรายได้ โดยการวางนิ้วมือให้อยู่หลังคมมีดเสมอ
ขั้นตอนการตัดแต่งกีบเท้าหลัง
เริ่มจากกีบในของขาหลัง
1. กำหนดความยาว และความหนาของกีบ ที่ต้องการตัดออก
2. ใช้คีมหรือสิ่ว ตัดปลายกีบส่วนที่ยาวเกินออก
3. ใช้คีม ขลิบขอบกีบด้านนอกของกีบใน เพื่อลดความหนาของพื้นกีบ
4. ใช้มีดแต่งกีบ ปาดพื้นกีบออกเป็นแผ่นบาง ๆ ทำหลาย ๆ ครั้งจนพื้นกีบบางพอได้ระดับที่กำหนด
5. ใช้มีดแต่งกีบ แต่งเว้าขอบด้านในของกีบใน ให้เรียบและไม่เกิดร่องเศษดินหินอุดตันได้
6. ใช้มีดแต่งกีบ ปาดเฉือนบริเวณอื่น ๆ ของกีบ ที่ผุร่อนหรือเป็นรอยแยก เช่น ส้นเท้า เป็นต้น
หมายเหตุ ในกรณีที่กีบในมีขนาดเล็กอยู่แล้ว และไม่ผิดรูปทรง ไม่จำเป็นต้องตัดแต่ง
1. กำหนดความยาว และความหนาของกีบนอก ให้เทียบเท่าหรือขนาดใกล้เคียงกับกีบใน
2. ใช้คีมหรือสิ่ว ตัดปลายกีบส่วนที่ยาวเกินออก
3. ใช้คีม ขลิบขอบกีบด้านนอกของกีบนอก เพื่อลดความหนาของพื้นกีบ
4. ใช้มีดแต่งกีบ ปาดพื้นกีบออกเป็นแผ่นบาง ๆ ทำหลาย ๆ ครั้งจนพื้นกีบได้ระดับเท่ากีบใน
5. ใช้มีดแต่งกีบ แต่งเว้าขอบด้านในของกีบนอก ให้เรียบและไม่เกิดร่องเศษดินหินอุดตันได้
6. ใช้มีดแต่งกีบ ปาดเฉือนบริเวณอื่น ๆ ของกีบ ที่ผุร่อนหรือเป็นรอยแยก เช่น ส้นเท้า เป็นต้น
หมายเหตุ การปาดพื้นกีบ ควรระวังอย่าปาดลึกเกินไป อาจทำให้เกิดแผลเลือดออกได้
ปัญหากีบเท้าและการป้องกันแก้ไขสันกีบสึกกร่อน
สาเหตุ : กีบอยู่ในสภาพชื้นแฉะบ่อยครั้ง และสกปรก สึกกร่อนโดยเชื้อแบคทีเรีย
การแก้ไข : จัดสถานที่ให้โคได้ยืนบนพื้นที่แห้งและสะอาด
การป้องกัน : จัดทำอ่างน้ำยา ฟอร์มาลิน (Formalin) หรือน้ำยาจุนสี (Copper sulfate)
สำหรับแช่กีบเท้าโค วันละ 1-2 ครั้ง ในอัตราส่วนน้ำยาฟอร์มาลิน (Commercial Formalin)
3-5 ลิตร ในน้ำ 100 ลิตร
หมายเหตุ น้ำยาจุนสี อาจเกิดการสะสมในดินและพืชอาหารสัตว์จนเกิดเป็นพิษต่อสัตว์ได้ จึงควรหลีกเลี่ยง การใช้โดยเลือกใช้โดยเลือกใช้น้ำยาฟอร์มาลินแทนซึ่งไม่ทำให้เกิดสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
การจัดการให้โคเดินผ่านอ่างน้ำยาฟอร์มาลิน ควรกระทำในช่วงฤดูฝนซึ่งมีการปล่อยโคแทะเล็มแปลงหญ้า ควรให้โคเดินผ่านน้ำยา วันละ 2 ครั้งติดต่อกัน จนครบ 5 วัน แล้วเปลี่ยนน้ำยา ควรกระทำเป็นระยะ ๆ ในช่วง ฤดูฝนหรือในช่วงที่มีโคมีปัญหากีบสึกกร่อนบ่อย กีบเท้าของโคจะมีความแข็งแรงมากขึ้น
ขนาดของอ่างแช่น้ำยาฟอร์มาลิน ควรมีขนาด กว้างประมาณ 1 เมตร ยาวประมาณ 3-5 เมตร และลึกประมาณ 15 เซนติเมตร ตัวอ่างควรตั้งอยู่ในที่โล่งแจ้ง หรือปากทางเข้าฟาร์ม โรงเรือน
เริ่มจากกีบในของขาหลัง
4. ใช้มีดแต่งกีบ ปาดพื้นกีบออกเป็นแผ่นบาง ๆ ทำหลาย ๆ ครั้งจนพื้นกีบบางพอได้ระดับที่กำหนด
5. ใช้มีดแต่งกีบ แต่งเว้าขอบด้านในของกีบใน ให้เรียบและไม่เกิดร่องเศษดินหินอุดตันได้
6. ใช้มีดแต่งกีบ ปาดเฉือนบริเวณอื่น ๆ ของกีบ ที่ผุร่อนหรือเป็นรอยแยก เช่น ส้นเท้า เป็นต้น
หมายเหตุ ในกรณีที่กีบในมีขนาดเล็กอยู่แล้ว และไม่ผิดรูปทรง ไม่จำเป็นต้องตัดแต่ง
การตัดแต่งกีบนอกของขาหลัง
หมายเหตุ การปาดพื้นกีบ ควรระวังอย่าปาดลึกเกินไป อาจทำให้เกิดแผลเลือดออกได้
ปัญหากีบเท้าและการป้องกันแก้ไขสันกีบสึกกร่อน
สาเหตุ : กีบอยู่ในสภาพชื้นแฉะบ่อยครั้ง และสกปรก สึกกร่อนโดยเชื้อแบคทีเรีย
การแก้ไข : จัดสถานที่ให้โคได้ยืนบนพื้นที่แห้งและสะอาด
การป้องกัน : จัดทำอ่างน้ำยา ฟอร์มาลิน (Formalin) หรือน้ำยาจุนสี (Copper sulfate)
สำหรับแช่กีบเท้าโค วันละ 1-2 ครั้ง ในอัตราส่วนน้ำยาฟอร์มาลิน (Commercial Formalin)
3-5 ลิตร ในน้ำ 100 ลิตร
หมายเหตุ น้ำยาจุนสี อาจเกิดการสะสมในดินและพืชอาหารสัตว์จนเกิดเป็นพิษต่อสัตว์ได้ จึงควรหลีกเลี่ยง การใช้โดยเลือกใช้โดยเลือกใช้น้ำยาฟอร์มาลินแทนซึ่งไม่ทำให้เกิดสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
การจัดการให้โคเดินผ่านอ่างน้ำยาฟอร์มาลิน ควรกระทำในช่วงฤดูฝนซึ่งมีการปล่อยโคแทะเล็มแปลงหญ้า ควรให้โคเดินผ่านน้ำยา วันละ 2 ครั้งติดต่อกัน จนครบ 5 วัน แล้วเปลี่ยนน้ำยา ควรกระทำเป็นระยะ ๆ ในช่วง ฤดูฝนหรือในช่วงที่มีโคมีปัญหากีบสึกกร่อนบ่อย กีบเท้าของโคจะมีความแข็งแรงมากขึ้น
ขนาดของอ่างแช่น้ำยาฟอร์มาลิน ควรมีขนาด กว้างประมาณ 1 เมตร ยาวประมาณ 3-5 เมตร และลึกประมาณ 15 เซนติเมตร ตัวอ่างควรตั้งอยู่ในที่โล่งแจ้ง หรือปากทางเข้าฟาร์ม โรงเรือน
ภาพตัวอย่างการตัดแต่งกีบโคนมโดยใช้เครื่องตัดแต่งกีบโคนม
ข้อมูลนี้เรียบเรียงมาเพื่อทางการศึกษา
ขอขอบคุณข้อมูล อ้างอิงจาก กองปศุสัตว์สัมพันธ์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
0 ความคิดเห็น