| More

อาหารและการให้อาหารโคนม

เขียนโดย Add Blogger วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2552


อาหารและการให้อาหาร โคนมเป็นสัตว์สี่กระเพาะหรือที่เรียกว่า สัตว์เคี้ยวเอื้อง ซึ่งอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ประเภทนี้จะมี 2 ชนิดคือ อาหารหยาบ เช่น หญ้า ถั่ว อาหารสัตว์ ฟางข้าว และอาหารข้น เช่น อาหารผสม ในการให้อาหารแก่ โคนม อาหารทั้ง 2 ชนิด จะมีความสำคัญเท่า ๆ กัน และต้องมีความสัมพันธ์กัน เพื่อที่จะทำให้โคนม สามารถให้น้ำนมได้สูงสุดตามความสามารถของโคแต่ละตัวที่จะแสดงออก โคนมในปัจจุบันได้รับการ ปรับปรุงพันธุ์จนมีความสามารถในการให้น้ำนมได้สูงกว่าแต่ก่อน ลำพังการให้อาหารหยาบเพียงอย่าง เดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารหยาบในเขตร้อนอย่างประเทศไทย ซึ่งมีคุณค่าทางอาหารต่ำ มีโภชนะ ไม่เพียงพอแก่ความต้องการของแม่โคนม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องการให้อาหารข้นเสริมจะเห็นได้ว่าอาหาร ข้นจะเข้าไปมีบทบาทต่อการผลิตน้ำนมมากขึ้น นอกจากนั้นบทบาทที่สำคัญอีกอย่างก็คือ จะเป็นตัวกำหนด ผลตอบแทนที่จะได้รับจากการเลี้ยงโคนม ทั้งนี้เพราะค่าใช้จ่ายในด้านอาหารจะเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงที่สุดคือ ประมาณร้อยละ 70 ของต้นทุนทั้งหมด ซึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมของประเทศกำลังประสบอยู่ นั่นคือต้นทุน การผลิตน้ำนมดิบที่สูงขึ้น ฉะนั้นการให้อาหารแก่โคนมอย่างเหมาะสมนอกจากจะสามารถช่วยแม่โคนม สามารถให้น้ำนมได้สูงขึ้นแล้ว ยังสามารถลดต้นทุนการผลิตได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามการให้อาหารข้น แก่โคนมก็มีข้อที่จะต้องพิจารณาอยู่มาก ซึ่งจากการสำรวจพบว่าเกษตรกรรายย่อยส่วนใหญ่ยังขาด ความรู้เข้าใจในการใช้อาหารข้น ทั้งเรื่องเกี่ยวกับว่า อาหารข้นควรจะมีคุณภาพอย่างไรประกอบด้วย อะไรบ้าง และจะให้โคนมกินประมาณเท่าไร ซึ่งคำถามต่าง ๆ เหล่านี้มักจะเกิดขึ้นอยู่เสมอ จึงจัดทำ เอกสารฉบับนี้ขึ้นมาเพื่อให้เกษตรกรได้ทำความเข้าใจอย่างง่าย ๆ ในการให้อาหารแก่โคนม ก่อนที่จะกล่าวถึงในเรื่องของการให้อาหาร เกษตรกรควรที่จะทำความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ที่จะไปมีส่วน เกี่ยวข้องโดยตรง


ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงแม่โคนม เป็นค่าอาหารประมาณร้อยละ 70 โดยเฉลี่ย แม่โคนมนอกจากต้องการอาหารอย่างพอเพียง ยังต้องการความสมดุลของโภชนะด้วย แม่โคต้องการโภชนะเพื่อใช้ในการทำงานของร่างกายดังนี้

  • เพื่อการเจริญเติบโต กรณีโคยังเติบโตไม่ได้โตเต็มที่
  • เพื่อการอุ้มท้อง ความต้องการโภชนะสำหรับการอุ้มท้องช่วง 6 เดือนแรกนั้นไม่มาก แต่ช่วง 3 เดือนก่อนคลอด ต้องการโภชนะเพิ่มขึ้นอย่างมาก
  • เพื่อการสะสมไขมัน หรือเติบโตทดแทนน้ำหนักที่สูญหายไป ระหว่างการให้นมหรือช่วงพักรีดนม
  • เพื่อการดำรงชีพ ความต้องการโภชนะเพื่อดำรงชีพมากหรือน้อยขึ้นกับขนาดของร่างกาย
  • เพื่อการให้นม ความต้องการเพื่อการให้นมผันแปรตามปริมาณน้ำนมและส่วนประกอบของน้ำนม

ความต้องการสารอาหารของแม่โคนม
แม่โคนมแต่ละตัวมีความต้องการสารอาหารได้แก่ โปรตีน พลังงาน วิตามิน แร่ธาตุ ฯลฯ โดยมีวัตถุ ประสงค์เพื่อที่จะ (1) บำรุงร่างกาย (2) เจริญเติบโต (3) ผลิตน้ำนม (4) เพื่อการเจริญเติบโตของลูกใน ท้องแม่โคจะนำสารอาหารที่ให้กินไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ตามลำดับทำให้แม่โคละตัวซึ่งมีน้ำหนักตัว ต่างกันและให้นมจำนวนไม่เท่ากัน มีความต้องการสารอาหารแตกต่างกันไปนอกจากนั้นในแม่โคตัวเดียวกัน ก็ยังมีความต้องการสารอาหารในแต่ละช่วงแตกต่างกันไปอีก ซึ่งจะขึ้นอยู่กับ
ช่วงระยะการให้น้ำนม แม่โคนมที่อยู่ในระยะใกล้คลอดหรือหลังคลอดใหม่ ๆ แม่โคนมที่อยู่ระหว่าง การให้น้ำนมสูงสุด (2 เดือนแรกของการให้นม) การให้นมช่วงกลาง การให้นมในช่วงปลาย และช่วงหยุด การให้นม จะมีความต้องการสารอาหารในแต่ละระยะการให้นมที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เพราะปริมาณน้ำนมที่ แม่โคผลิตได้ในแต่ละช่วงจะแตกต่างกัน
สภาพของร่างกาย โคนมที่สามารถให้น้ำนมได้เต็มที่ สุขภาพของแม่โคจะต้องพร้อม คือ ไม่ควรจะอ้วน หรือผอมจนเกินไป จึงมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับสารอาหารที่มากขึ้น ทั้งนี้เพราะโคจะต้องใช้สารอาหาร ในการบำรุงร่างกาย และเจริญเติบโตก่อนจึงจะนำไปใช้ในการสร้างน้ำนม
เมื่อเกษตรกรได้รู้ถึงความต้องการสารอาหารของโคแล้ว ซึ่งในที่นี้จะไม่ขอกล่าวถึงความต้องการสารอาหาร แต่ละชนิด เพราะอาจจะทำให้สับสน แต่อยากจะให้เกษตรกรได้ทราบถึงเหตุผลว่าทำไมจึงมีความจำเป็นที่ จะต้องให้อาหารต่างกันในโคแต่ละตัวหรือในโคตัวเดียวกันแต่ต่างระยะเวลา

ส่วนประกอบของอาหารแม่โครีดนม
โดยทั่วไปแล้วสัดส่วนอาหาร (ration) ของแม่โครีดนมควรจะมีส่วนประกอบดังนี้

ส่วนประกอบ
โปรตีนรวม (Crude protein) ร้อยละของน้ำหนักอาหาร 12-22
ผลรวมโภชนะย่อยได้ (Total Digestible Nutrient, TDN) ร้อยละของน้ำหนักอาหาร 60-70
เยื่อใย (Crude fiber) ไม่ต่ำกว่า ร้อยละของน้ำหนักอาหาร 15
เกลือแร่ ร้อยละของน้ำหนักอาหาร 0.5-1

ปริมาณการกินอาหารหยาบ
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า โคนมเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง จึงจำเป็นต้องได้รับอาหารหยาบอย่างเพียงพอ ซึ่งในจุดนี้ เกษตรกรบางส่วนไม่ค่อยได้คำนึงถึงมากนัก อย่าคิดแต่เพียงว่าถ้าให้อาหารข้นมาก ๆ โคจะได้รับสาร อาหารมาก และจะทำให้ผลผลิตน้ำนมได้มาก ตรงกันข้ามในความเป็นจริงแล้วโคที่ได้รับอาหารข้นมากเกินไป กลับทำให้ผลผลิตน้ำนมลดลงด้วยซ้ำ เนื่องจากการที่โคได้รับอาหารหยาบน้อยเกินไป อาจจะทำให้เกิดอาการ ผิดปกติในระบบการย่อยอาหาร คือ เกิดความเป็นกรดในกระเพาะผ้าขี้ริ้วมากจนโคไม่ยอมกินอาหาร ทั้งนี้ เพราะอาหารหยาบมีเยื่อใยสูงจะช่วยในการเคี้ยวเอื้อง ทำให้ต่อมน้ำลายของโคหลั่งน้ำลายได้มากขึ้นและ น้ำลายนี้เองที่มีฤทธิ์เป็นด่างจะช่วยปรับสภาพภายในกระเพาะผ้าขี้ริ้วให้เหมาะสมแก่การทำงานของจุลินทรีย์ เพื่อสังเคราะห์โปรตีน และพลังงานแก่โคต่อไป เกษตรกรจึงจำเป็นที่จะต้องมีอาหารหยาบเพียงพอให้แก่โคซึ่ง ระดับของอาหารหยาบ เมื่อคิดเป็นน้ำหนักแห้งที่แม่โคควรจะได้รับต่อวันไม่ควรต่ำกว่า 1.4% ของ นน. ตัว ตัวอย่างเช่น แม่โคนมที่มีน้ำหนักประมาณ 400 กก. ควรจะได้รับอาหารหยาบแห้งตามที่ได้กำหนดไว้ดังต่อไปนี้ คือ แม่โคนมที่มีน้ำหนักตัว 100 กก. ต้องการอาหารหยาบ = 1.4 กก. แม่โคนมที่มีน้ำหนักตัว 400 กก. ต้องการ อาหารหยาบ =(1.4 x 400)/100 กก.
แม่โคควรจะได้รับอาหารหยาบแห้ง/วัน = 5.6 กก. เมื่อนำมาคิดเทียบกับไปเป็นหญ้าสด ซึ่งทั่ว ๆ ไปมีวัตถุ แห้งประมาณ 25% ดังนั้น โคควรจะได้รับหญ้าสดในปริมาณวันละ = (5.6 x 100)/100 = 22.4 กิโลกรัม


ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพอาหารหยาบกับอาหารข้นที่จะใช้
คุณภาพของอาหารหยาบและปริมาณการกินอาหารหยาบ จะเป็นตัวกำหนดสารอาหารที่แม่โคจะได้รับ เช่น แม่โคกินอาหารหยาบคุณภาพดีและกินในปริมาณที่มาก ก็จะได้รับสารอาหารมากกว่าแม่โคที่กิน อาหารหยาบที่มีคุณภาพต่ำและกินได้น้อย ดังนั้นจึงทำให้อาหารข้นที่จะใช้เสริมนั้นแตกต่างกัน คือ อาหารข้นจะต้องมีสารอาหารหรือความเข้มข้นแตกต่างกัน มิใช่ให้ในปริมาณที่แตกต่างกัน มิฉะนั้นแล้วจะ มีผลต่อการกินอาหารหยาบตามมา เพราะกระเพาะโคมีขนาดคงที่ ความสัมพันธ์ของอาหารหยาบและ อาหารข้นพอจะสรุปได้ดังนี้คือ

คุณภาพของอาหารหยาบที่ใช้
อาหารหยาบคุณภาพ ดี ระดับโปรตีนในอาหารข้น (% ในสูตรอาหาร) 12-16 หรือประมาณ 14
อาหารหยาบคุณภาพ ปานกลาง ระดับโปรตีนในอาหารข้น (% ในสูตรอาหาร) 16-20 หรือประมาณ 18
อาหารหยาบคุณภาพ ต่ำ ระดับโปรตีนในอาหารข้น (% ในสูตรอาหาร) 20-24 หรือประมาณ 22

ในความเป็นจริงแล้ว คุณภาพของอาหารข้นนอกจากจะคำนึงถึงโปรตีนในอาหารแล้ว ยังต้องคำนึงถึง พลังงาน ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นอย่างมากในแม่โคที่กำลังให้นม อย่างไรก็ตามคำแนะนำอย่างง่าย ๆ ก็คือถ้าแม่โคของท่านมีความสามารถในการให้นมสูง แต่ท่านจำเป็นต้องให้อาหารหยาบคุณภาพต่ำ เช่น ฟางข้าวเลี้ยงหรือต้องเดินแทะเล็มในทุ่งหญ้าธรรมชาติเป็นระยะทางไกล ๆ ท่านควรจะเสริมอาหารพลังงาน อาทิเช่น มันเส้น หรือกากน้ำ (Molasses) นอกเหนือจากอาหารหยาบและอาหารข้นที่กล่าวถึงแล้ว แต่ท่าน ก็ไม่ควรจะหวังถึงการให้นมได้สูงสุด คงจะเป็นเพียงช่วยไม่ให้การให้นมของแม่โคลดลงอย่างรวดเร็วเท่านั้น

การผสมสูตรอาหารข้นและการเลือกใช้วัตถุดิบผสมอาหารข้น
เกษตรกรสามารถเลือกใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ได้หลายอย่าง เพื่อนำมาผสมเป็นอาหารข้น แต่สิ่งที่เกษตรกร ควรระวังในการเลือกใช้วัตถุดิบต่าง ๆ คือ อย่าคิดถึงราคาต่อกิโลกรัมเท่านั้น เพราะวัตถุดิบบางชนิดมีราคา ต่อกิโลกรัมต่ำกว่า แต่เมื่อเปรียบเทียบสารอาหารที่มีอยู่ เช่น โปรตีน อาจจะทำให้ราคาต่อสารอาหารนั้นมี ราคาสูงกว่าก็ได้ อย่างไรก็ตามในเรื่องการเลือกใช้วัตถุมีรายละเอียดอยู่มาก ในที่นี้จึงได้จัดทำสูตรอาหาร ข้นขึ้นมาเพื่อให้เกษตรกรได้นำไปใช้ โดยพยายามเลือกใช้วัตถุดิบและราคาจำหน่ายตามที่มีจำหน่ายอยู่ ทั่ว ๆ ไป ในแหล่งที่มีการเลี้ยงโคนม



ปริมาณการกินอาหารของแม่โค
แม่โคนมแม้จะต้องการสารอาหารมากเพียงไร แต่ปริมาณอาหารที่แม่โคกินได้นั้นมีอย่างจำกัด ซึ่งอาจจะ เนื่องมาจากความจุของกระเพาะโคเองหรืออาจจะเนื่องมาจากลักษณะและคุณภาพของอาหารที่ให้แก่โค ฉะนั้นเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมควรจะทราบด้วยว่า โคนมของท่านแต่ละตัวจะสามารถกินอาหารได้วันละเท่าใด เพื่อที่จะทำให้ทราบว่า สารอาหารที่แม่โคได้รับนั้นเพียงพอหรือไม่กับการให้น้ำนมของแม่โค การผลิตน้ำนม ให้ได้มาก ๆ นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารที่ได้รับเพียงอย่างเดียว แต่คุณภาพของอาหารมีความสำคัญ ยิ่งกว่าคาดคะเนปริมาณการกินอาหารของโค ซึ่งจะมีความสัมพันธุ์กับปัจจัยหลัก 2 ปัจจัย คือ น้ำหนักตัวของ แม่โคและปริมาณน้ำนมที่แม่โคนั้นผลิตได้ ซึ่งในเรื่องของน้ำหนักตัวของแม่โค เกษตรกรมักจะไม่ทราบเพราะ ไม่มีเครื่องชั่งสัตว์ในฟาร์ม แต่ก็พอจะประมาณได้ เพราะโคลูกผสมขาว-ดำ ในเมืองไทยจะมีน้ำหนักโดย ประมาณนี้เป็นตัวคำนวณปริมาณอาหารต่อไปได้ และเมื่อพิจารณาร่วมกับปริมาณน้ำนมที่ผลิตได้ก็พอจะ ประมาณการกินอาหารของแม่โคได้ดังนี้ (ดังตารางที่ 1)


เมื่อดูตารางแล้ว เกษตรกรอาจสงสัยว่า ทำไมแม่โคนมที่มีน้ำหนักมากจึงกินอาหารได้น้อยกว่าแม่โคที่มี น้ำหนักน้อยกว่า ถ้าให้นมเท่ากันทั้งนี้เพราะว่าตารางที่แสดงนั้น แสดงเป็นค่าของร้อยละของน้ำหนักตัว แม่โค ซึ่งจริงแล้วแม่โคที่มีน้ำหนักมากกว่าจะกินอาหารมากกว่า แม่โคที่มีน้ำหนักน้อยกว่า ถ้าคิดเป็น จำนวนกิโลกรัมของอาหาร ตัวอย่างเช่น จะคาดคะเนปริมาณกินอาหารของแม่โคที่มีน้ำหนักประมาณ 400 กก. และสามารถให้นมวันละ 18 กิโลกรัม ว่าแม่โคจะกินอาหารได้วันละเท่าใด เมื่อดูจากตารางจะ เห็นว่าแม่โคกินอาหารได้ประมาณ 2.9 เปอร์เซนต์ของน้ำหนักตัวเท่ากับ (2.9 x 400)/100 = 11.6 กิโลกรัม คำตอบคือแม่โคจะกินอาหารที่มีน้ำหนักแห้งได้ประมาณวันละ 11.6 กิโลกรัม แต่แม่โคที่มีน้ำหนักตัว 500 กก. และให้นม 18 กก./วันเหมือนกัน จะกินอาหารคิดเป็น นน.แห้งได้ (2.8 x 500)/100 = 13.5 กิโลกรัม เป็นต้น


คุณภาพของอาหารหยาบ
เมื่อทราบถึงปริมาณของอาหารหยาบที่จำเป็นที่แม่โคจะต้องได้รับต่อวัน เพื่อที่จะทำให้ระบบการย่อย อาหารเป็นไปอย่างปกติแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงถึงต่อมาก็คือ อาหารหยาบที่ให้แก่แม่โค มีคุณภาพเป็นอย่างไร โคจะใช้ประโยชน์ได้มากน้อยขนาดไหน ทั้งนี้เพราะคุณภาพของอาหารหยาบจะเป็นตัวกำหนดคุณภาพของ อาหารข้นด้วย คือ ถ้าอาหารหยาบที่ให้แก่โคมีคุณภาพต่ำ อาหารข้นที่จะใช้เสริมจำเป็นจะต้องมีคุณค่าอาหาร สูงซึ่งผลการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหาร ทางกลุ่มงานวิเคราะห์อาหารสัตว์กองอาหารสัตว์ได้จัดทำสรุปไว้แแล้ว แต่ในเอกสารฉบับนี้จะขอนำเอาผลการวิเคราะห์ของอาหารหยาบ ที่มีใช้ทั่ว ๆ ไปมาเสนอเท่านั้น (ดังในตารางที่ 2)


คุณภาพของอาหารหยาบ นอกจากจะเป็นตัวกำหนดคุณภาพของอาหารข้นแล้ว ยังเป็นตัวควบคุม ในเรื่องการกินอาหารของแม่โคด้วย เพราะถ้าใช้อาหารหยาบคุณภาพต่ำ อาทิเช่น ฟางข้าว หรือหญ้า ธรรมชาติในช่วงที่ออกดอกแล้ว โคจะย่อยได้น้อย ทำให้การกินอาหารลดลงตามไปด้วย เกษตรกรควรจะ หาวิธีการที่จะแก้ปัญหานี้ ซึ่งอาจจะทำได้โดยการเพิ่มคุณภาพ และการใช้ประโยชน์ของอาหารหยาบ เช่น การสับฟางเป็นชิ้นเล็ก ๆ การทำฟางปรุงแต่ง หรือการใช้ใบพืชตระกูลถั่ว ที่มีคุณภาพสูงให้กินร่วมกับฟาง เพื่อให้อาหารหยาบนั้นมีความน่ากิน และมีการย่อยได้สูงขึ้น นอกจากนั้นในเรื่องฤดูกาล เช่น ในช่วงที่มี อากาศร้อนก็จะทำให้แม่โคกินอาหารหยาบได้ลดลงเช่นกันทั้งนี้เพราะ ความร้อนที่เกิดจากขบวนการหมัก ของอาหารหยาบในกระเพาะผ้าขี้ริ้วของโคไม่สามารถจะระบายออกนอกร่างกายได้ทัน เนื่องจากอุณหภูมิ ภายในตัวโคมีอาการหอบชอบยืนแช่น้ำและกินอาหารลดลง เกษตรกรอาจจะแก้ไขปัญหานี้โดยพยายามให้ อาหารหยาบแก่โคทีละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้งขึ้น และพยายามให้อาหารหยาบในช่วงเวลาที่อากาศเย็นลง เช่น กลางคืน หรือจะใช้วิธีอาบน้ำและใช้พัดลมช่วยหรืออาจจะใช้หลายวิธีร่วมกัน อย่างไรก็ตามเกษตรกรต้อง คำนึงอยู่เสมอว่าจะต้องให้แม่โคได้กินอาหารหยาบแห้งไม่ต่ำกว่า 1.4 เปอร์เซนต์ของน้ำหนักตัวแม่โคเสมอ


ปริมาณอาหารข้นที่ให้แก่แม่โคนม
เมื่อทราบว่าอาหารข้นควรจะมีความเข้มข้นของสารอาหารเท่าใดแล้ว ความจำเป็นต่อมาก็มาพิจาณาถึงว่า จะให้แก่แม่โคกินในปริมาณเท่าไรเนื่องจากแมโคแต่ละตัวมีการให้น้ำนมได้ไม่เท่ากัน และในแต่ละช่วงเวลา ก็จะมีอาหารหยาบที่มีคุณภาพต่าง ๆ กันด้วย ในที่นี้จึงได้สรุปปริมาณอาหารข้นที่ควรจะให้แก่แม่โคแต่ละตัว ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำนมที่แม่โคผลิตได้และอาหารหยาบที่ใช้เลี้ยง (ดังตารางที่ 4)


จากตารางที่ 4 ตัวเลขในตาราง เป็นปริมาณอาหารข้นที่ควรจะให้แก่แม่โค (กิโลกรัม/ตัว/วัน) ในแต่ละ ระดับการให้นม เมื่อใช้ร่วมกับอาหารหยาบคุรภาพต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น
กรณีใช้อาหารหยาบคุณภาพดีแก่แม่โคนม ถ้าแม่โคนมสามารถให้นมได้ 14 กก./วัน อาหารข้นที่ให้ควรจะ มีโปรตีนในสูตรอาหาร = 12% และให้ในปริมาณ 5.5 กก./ตัว/วัน แต่ถ้าแม่โคสามารถให้นมได้มากกว่านี้ เช่น ให้นมได้ 18 กก./วัน การใช้อาหารข้นที่มีโปรตีน 12% จะน้อยเกินไปเพราะจะทำให้โคต้องกินอาหารข้น ในปริมาณมาก จึงจะได้รับโภชนะเพียงพอจึงจำเป็นต้องใช้อาหารข้นที่มีอาหารความเข้มข้นของสารอาหาร สูงขึ้น คือมีโปรตีนประมาณ 14% และให้กินในปริมาณ 7.0 กก./ตัว/วัน จึงจะไม่มีผลกระทบต่อการกิน อาหารหยาบ
กรณีการใช้อาหารหยาบคุณภาพปานกลาง ก็เป็นไปในทำนองเดียวกันกับอาหารหยาบ คุณภาพด แตกต่างกันที่ว่าระดับโปรตีนในอาหารข้นจะสูงกว่า กล่าวคือ อาหารข้นที่ใช้ร่วมกับอาหารหยาบคุณภาพปานกลาง อาทิเช่น หญ้าสด เปลือกและไหมข้าวโพดฝักอ่อน ควรจะมีโปรตีนในสูตรอาหารข้น ประมาณ 14-16% ส่วน ปริมาณที่ให้ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณการให้นมของแม่โค ดังในตาราง
กรณีการใช้อาหารหยาบคุณภาพต่ำนั้น อาหารข้นที่จะให้แก่แม่โคมีความจำเป็นที่จะต้องมีความเข้มข้นสูงขึ้น มากกว่า เพื่อที่จะทำให้แม่โคได้รับสารอาหารเพียงพอแก่ความต้องการในการให้น้ำนม อาหารข้นที่ใช้ควรมี ระดับโปรตีน ประมาณ 22% ในกรณีที่แม่โคมีการให้นม 22 กก./วัน ควรจะให้อาหารข้นประมาณ 9.5 กก./ ตัว/วัน แต่ถ้าแม่โคมีการให้นมมากกว่า 22 กก./วัน ขึ้นไปควรจะให้อาหารข้นแก่แม่โคได้อย่างเต็มที่หลังจาก ที่แม่โคได้รับอาหารหยาบเพียงพอตามคำแนะนำในตอนต้น ๆ คือ 1.4% ของน้ำหนักตัว ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำสุด ที่แม่โคต้องการ


การทำบันทึกเกี่ยวกับโคนม
เจ้าของสัตว์ควรจะเป็นผู้ที่ทำบันทึกและเก็บไว้เอง โดยอาจเริ่มต้นจากวันที่สัตว์เกิด น้ำหนักและสัดส่วน แรกเกิดวันผสม วันคลอดรวมถึงการสั่งน้ำหนักโคทุกครั้ง เช่น วันหย่านมอายุ 1 ปี หรือเกณฑ์ผสมพันธุ์และ หรือระยะเวลาการให้นม จำนวนวัคซีนหรือการรักษาโรค (ถ้ามี) ด้วย ผู้ที่จะจดบันทึกควรจุทำความเข้าใจ วิธีทำให้ถูกต้อง และทำการลงบันทึกตลอดจนเก็บรักษาไว้ด้วยตนเอง ทำให้สม่ำเสมอเป็นประจำ การชั่ง น้ำหนักโคหรือการชั่งน้ำนมควรใช้เครื่องชั่งที่เที่ยงตรง จดน้ำหนักลงบันทึกไว้ถ้าทำได้ในการเก็บตัวอย่าง โดยเฉพาะถูกระบุหมายเลขภาชนะ หรือชื่อโคให้แน่นอนและจัดส่งไปให้ตรวจสอบเปอร์เซนต์ไขมัน ในห้อง ปฏิบัติการนมต่อมาผลก็จะถูกส่งกลับไปยังเจ้าของโค เมื่อได้รับผลก็ต้องลงบันทึกพร้อมกับคำนวณหา จำนวนนมไขมัน 4% หรืออื่น ๆ ที่ควรจะจดลงในบันทึกต่อไป แต่ในกรณีที่ไม่สามารถจะตรวจไขมันได้ การจดบันทึกการให้นมแต่ละครั้งของแม่โคเป็นวัน-เดือนอย่างสม่ำเสมอตลอดระยะการให้นมเก็บไว้ได้ซึ่ง ยังดีกว่าไม่ทำการจดบันทึกอะไรเลย

การให้อาหารโคนมโดยใช้คะแนนร่างกาย
ตามหลักการ ผู้เลี้ยงควรจะทำการประเมินสภาพร่างกายของโคนมเพศเมียแต่ละตัวทุก ๆ 2 เดือน โดยเริ่มประเมินตั้งแต่หลังจากหย่านมเป็นต้นไป ซึ่งในทางปฏิบัติจริงคงไม่สะดวกที่จะทำการประเมินสภาพร่างกายทุก ๆ 2 เดือน ดังนั้นเพื่อให้ลดความถี่และเพิ่มความสะดวกในการประเมินสภาพร่างกาย จึงควรประเมินในระยะเวลาดังต่อไปนี้

ในกรณีแม่โคนม

1.1 ระยะพักการรีดนม (ดราย)
ผู้เลี้ยงควรจะให้แม่โคได้รับอาหารข้นมากพอที่จะก่อให้เกิดการสะสมพลังงานในช่วงท้ายของรอบการให้น้ำนม และแม่โคในระยะพักการรีดนมควรมีคะแนนร่างกาย 3.5 ในระยะพักการรีดนมนี้ ผู้เลี้ยงจะต้องให้อาหารเพื่อให้แม่โคสามารถรักษาระดับคะแนนร่างกาย 3.5 จนกระทั่งคลอด ไม่ควรให้แม่โคมีคะแนนร่างกายมากหรือน้อยกว่านี้ แม่โคที่มีคะแนนร่างกายมากกว่า 4.0 ในระยะพักการรีดนมนั้น จะมีโอกาสก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับการใช้สารอาหารในร่างกายผิดปกติ เช่น โรคไขมัน โรคคีโตซีส ฯลฯ ดังนั้นผู้เลี้ยงควรจะให้อาหารที่มีพลังงานเพียงพอสำหรับรักษาสภาพคะแนนร่างกาย 3.5 ก็พอแล้ว ทั้งนี้เป็นเพราะว่าในช่วงท้าย ๆ ของรอบการให้น้ำนมและระยะพักการรีดนม แม่โคมีความสามารถในการสะสมพลังงานส่วนเกินมากกว่าที่จะนำพลังงานส่วนเกิน ดังกล่าวไปสร้างเป็นน้ำนม ในทางตรงกันข้ามถ้าในระยะพักการรีดนมจนกระทั่งคลอด แม่โคมีคะแนนร่างกายน้อยกว่า 3 จะมีผลทำให้ปริมาณน้ำนมของแม่โคที่จะให้ต่อไปได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็นและก่อให้เกิดปัญหาการไม่เป็นสัดและหรือการผสมไม่ติดตามมา ทั้งนี้เป็นเพราะแม่โคมีพลังงานสะสมไม่เพียงพอต่อขบวนการสร้างน้ำนมนั่นเอง อย่างไรก็ตามในช่วง 15 วันก่อนคลอด แม่โคควรจะต้องได้รับอาหารทั้งอาหารข้นและอาหารหยาบ ชนิดเดียวกันกับอาหารแม่โคหลังคลอด โดยผู้เลี้ยงจะต้องให้อาหารข้นแม่โคเพิ่มขึ้นวันละ 0.5 กิโลกรัม/ตัว จนกระทั่งแม่โคได้รับอาหารข้นมากที่สุดไม่เกิน 4 กิโลกรัม/ตัว/วัน จนกระทั่งวันคลอด
ทั้งนี้เพื่อให้จุลินทรีย์ในกระเพาะผ้าขี้ริ้ว ได้มีโอกาสปรับตัวเตรียมรับสภาพที่แม่โคจะต้องได้รับอาหารข้นในปริมาณมาก ๆ ในช่วงหลังคลอด

1.2 ขณะคลอด
ในขณะคลอด แม่โคมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีสภาพร่างกายที่สมบูรณ์ คือ มีคะแนน ร่างกาย 3.5 ทั้งนี้เพื่อให้แม่โคในระยะหลังคลอดแสดงความสามารถในการผลิตน้ำนมได้มากที่สุด ตามความสามารถทางพันธุกรรม ไขมันแต่ละ 1 กิโลกรัมที่สะสมในร่างกายของแม่โค สามารถที่ จะถูกเป็นพลังงานในการสร้างน้ำนมได้ 7 กก. อย่างไรก็ตามถ้าแม่โคมีสภาพร่างกายที่อ้วนมากเกินไป คือมีคะแนนร่างกายมากกว่า 4.0 จะมีผลทำให้แม่โคมีปัญหาในการคลอดยาก การใช้ประโยชน์จากสารอาหารในร่างกายผิดปกติ และง่ายต่อการเกิดโรคติดเชื้อต่าง ๆ นอกจากนั้นยังจะทำให้ ความอยากกินอาหารลดลง ซึ่งทำให้แม่โคมีความจำเป็นที่จะต้องสลายไขมันที่สะสมในร่างกายมาสร้างเป็นน้ำนม เป็นผลให้แม่โคน้ำหนักลดอย่างรวดเร็วและผอมโทรม ในทางตรงกันข้าม ถ้าแม่โคมีคะแนนร่างกายน้อยกว่า 3.0 ในขณะคลอด จะมีผลทำให้แม่โคให้น้ำนมน้อยกว่าความสามารถจริง ๆ ที่แม่โคจะผลิตได้ ดังนั้นในช่วงหลังคลอดจะต้องเอาใจใส่ให้อาหารที่มีคุณภาพ และให้แม่โคได้กินอาหารได้มากที่สุด เพื่อให้แม่โคนำอาหารที่กินได้ไปสร้างเป็นน้ำนมและลดอัตราการสลายอาหารที่สะสมในร่างกายของแม่โคมาสร้างเป็นน้ำนมทำให้แม่โคมีสภาพร่างกายเปลี่ยนไปอย่างช้า ๆ เป็นผลให้แม่โคให้น้ำนมได้สูงสุดและการพัฒนาระบบสืบพันธุ์เป็นไปอย่างปกติ คือ ผสมติดง่าย

1.3 ระยะสูงสุดของการให้น้ำนม
ในระหว่างหลังคลอด 7 วันเป็นต้นไป จนถึงระยะสูงสุดของการให้น้ำนมแม้จะมีการดูแลให้ อาหารเพื่อให้แม่โคกินอาหารได้มากที่สุด ถึงแม้ว่าอาหารส่วนใหญ่ที่กินจะมุ่งไปสู่การสร้างน้ำนม แต่อาหารที่กินเข้าไปก็ยังไม่เพียงพอต่อความสามารถในการสร้างน้ำนมของเต้านม แม่โคจะต้องสลายอาหารที่สะสมในร่างกายออกมาเพิ่มเติม ซึ่งเป็นผลทำให้น้ำหนักของแม่โคลดลงเรื่อย ๆ โดยเฉลี่ย 400-600 กรัม/วัน ฉะนั้น สภาพร่างกายของแม่โคในช่วงระยะสูงสุดของการให้น้ำนม (5-7 สัปดาห์หลังคลอด) ควรมีคะแนนร่างกายร่างกายประมาณ 2.5 (สำหรับแม่โคที่ให้น้ำนม มากกว่า 25 กิโลกรัม ในระยะสูงสุดของรอบการให้น้ำนม อาจจะมีคะแนนร่างกายประมาณ 2.0) ในช่วงระยะสูงสุดของการให้น้ำนม จำเป็นจะต้องให้แม่โคได้รับอาหารที่มีพลังงานสูง (อาหารข้น) อย่างเต็มที่ เพื่อให้แม่โคนำไปสร้างน้ำนมได้มากที่สุด และเพื่อให้แม่โคเริ่มทำการ สะสมอาหารในร่างกาย แม่โค*ี่ผลผลิตน้ำนมในระดับปานกลาง (16-20 กิโลกรัม/วัน) ที่มี คะแนนร่างกายต่ำกว่า 2.5 แสดงว่าแม่โคตัวนั้น ได้รับอาหารไม่พอ จะต้องให้อาหารข้นแก่ แม่โคเพิ่มขึ้นอีก แต่ถ้าแม่โคที่ให้ผลผลิตน้ำนมปานกลางจะมีคะแนนร่างกายประมาณ 3.0 แสดงว่าแม่โคได้รับอาหารที่มีโปรตีนและแร่ธาตุอาหารหรือน้ำไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตามใน ช่วงระยะสูงสุดของการให้น้ำนมนี้ ถ้าแม่โคมีคะแนนร่างกายต่ำกว่า 1.5 แล้ว แสดงว่าแม่โค ไดรับอาหารน้อยกว่าความต้องการ

1.4 ระยะกลาง-ปลาย ของรอบการให้น้ำนม (180-240 วันหลังคลอด)
ในระหว่างระยะกลาง-ปลายของการให้น้ำนม แม่โคควรที่จะได้รับอาหารในปริมาณที่มากพอ ที่จะก่อให้เกิดการสะสมอาหารในร่างกายเพิ่มขึ้น เนื่องจากอาหารที่แม่โคได้รับในช่วงนี้ปกติ จะลดความสำคัญที่จะนำไปสร้างน้ำนมลง แต่จะให้ความสำคัญในการนำไปเสริมสร้างร่างกาย และการตั้งท้อง จนกระทั่งได้คะแนนร่างกายที่สมบูรณ์ตามความต้องการ จนกระทั่งได้คะแนน ร่างกายที่สมบูรณ์ตามความต้องการเพื่อที่จะส่งผลให้รอบของการให้น้ำนมถัดไปดีขึ้น ในช่วง ตั้งแต่ 120 วันหลังคลอดเป็นต้นไป แม่โคควรจะได้รับอาหารในปริมาณที่มากพอเพื่อเริ่มสะสม อาหารในร่างกาย น้ำหนักของแม่โคควรเพิ่มโดยเฉลี่ยประมาณ 200-400 กรัม/วัน จนกระทั่งใน ช่วง 180-240 วัน แม่โคควรจะมีคะแนนร่างกายประมาณ 3.0 ถ้าแม่โคมีคะแนนร่างกายในช่วงนี้ มากกว่า 3.5 ควรจะลดอาหารพลังงาน (อาหารข้น) เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาแม่โคอ้วนเกินไป แต่ถ้า แม่โคมีคะแนนร่างกายน้อยกว่า 3.0 แสดงว่าแม่โคได้รับอาหารที่มีพลังงานไม่พอ ควรจะเพิ่ม อาหารข้นให้แก่แม่โค ฉะนั้นอาจจะกล่าวได้ว่าในระยะกลาง-ปลายของรอบการให้น้ำนม จะ เป็นระยะที่ปรับสภาพความสมบูรณ์ร่างกายของแม่โคได้ดีที่สุด เพราะเป็นระยะที่ลูกในท้องยัง ไม่ต้องการอาหารมาก อาหารที่กินเข้าไปจะนำไปสร้างเป็นน้ำนมและสะสมในร่างกายมากกว่า ดังนั้นในระยะนี้จึงง่ายต่อการปรับคะแนนร่างกาย

ในกรณีโคสาว

2.1 ระยะอายุ 6 เดือน
ในระยะตั้งแต่อายุ 6 เดือนจนถึงระยะก่อนการผสมพันธุ์ จัดว่าเป็นช่วงระยะเวลาที่สำคัญ ระยะหนึ่ง เพราะเป็นระยะที่เต้านมมีอัตราการเจริญเติบโตมากกว่าการเจริญเติบโตทางร่างกาย โดยเฉพาะเมื่อโคเพศเมียมีอายุ 9 เดือน อัตราการเจริญของเต้านมจะมากกว่าอัตราการเจริญทาง ร่างกายถึง 3.5 เท่า ซึ่งปกติแล้วโครุ่น-โคสาว จะมีอัตราการเจริญเติบโตดีมาก สุขภาพแข็งแรง ฉะนั้นการให้อาหารโคในระยะนี้จะต้องไม่ทำให้การเจริญเติบโตของโคหยุดชะงัก เพราะ นอกจากจะทำให้โคเป็นสาวช้าแล้ว ยังทำให้อัตราการเจริญของเต้านมลดน้อยลงด้วย ในทาง ตรงกันข้าม ไม่ควรให้อาหารโดยเฉพาะอาหารข้น จนโคอ้วนมากเกินไป เพราะจะมีผลเสียทำ ให้ที่เต้านมเกิดการสะสมเนื้อเยื่อไขมันเข้าไปสอดแทรกแทนกลุ่มของเนื้อเยื่อสร้างน้ำนม ทำให้ เต้านมพัฒนาเป็นเต้าน้ำมากกว่าเต้าเนื้อซึ่งจะส่งผลให้เจริญเป็นแม่โคที่ให้น้ำนมน้อยต่อไป อย่างไรก็ตามโครุ่นในระยะ 6 เดือนนี้ เกษตรกรจะต้องให้อาหารโค เพื่อให้มีคะแนนร่างกาย 2.5-3.0 ซึ่งจัดเป็นคะแนนร่างกาย*ี่โครุ่นมีสภาพสมบูรณ์ไม่อ้วนหรือผอมจนเกินไป มีอัตราการเจริญเติบโตประมาณ 400-600 กรัม/วัน ถ้าหากโครุ่นมีคะแนนร่างกายต่ำกว่านี้ เกษตรกรผู้เลี้ยง โคนมจะต้องให้อาหารข้นเพิ่มขึ้น แต่ถ้าโครุ่นมีคะแนนร่างกายมากกว่านี้ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม จะต้องให้อาหารข้นลดน้อยลง

2.2 ระยะผสมพันธุ์
ถ้าโคเพศเมียได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีตั้งแต่แรกคลอดจนถึงโคสาวแล้ว จะสามารถทำการผสมพันธุ์ ได้ในช่วงอายุ 16-18 เดือน ซึ่งมีน้ำหนักตัวประมาณ 300 กิโลกรัม ในระยะผสมพันธุ์ของโคสาวนี้ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมจะต้องให้อาหารข้นเพิ่มขึ้น เพื่อให้โคสาวแสดงอาการเป็นสัดรุนแรงขึ้น อย่างไรก็ตามโคสาวในระยะผสมพันธุ์ควรจะมีคะแนนร่างกาย 3.0-3.5 ถ้าโคสาวตัวใดมีคะแนน ร่างกายต่ำกว่า 3.0 เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมจะต้องให้อาหารข้นเพิ่มมากขึ้น แต่ถ้าโคสาวตัวใดมีคะแนนร่างกายสูงกว่า 3.5 ก็ควรลดอาหารข้นลง โคสาวในระยะนี้ที่ผอมหรืออ้วนมากเกินไปจะก่อให้เกิดปัญหาการผสมติดยาก หลังจากโคสาวผสมติดแล้วเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมจะต้องเอาใจใส่ดูแลให้อาหารข้นเพื่อให้โคสาวท้องให้โคสาวท้องมีการเจริญเติบโตปกติ คือมีสภาพคะแนนร่างกาย 3.5 อย่าให้โคสาว*้องชะงักการเจริญเติบโตเพราะเป็นระยะที่มีการสร้างระบบท่อนนและเซลล์สร้างน้ำนม ของเต้านม หรือ อย่าให้อาหารข้นจนโคสาวอ้วนมากเกินไป เพราะจะทำให้มีปัญหาการคลอดยากตามมา เมื่อโคสาวท้องได้ 7 เดือนหรือก่อนคลอด 2 เดือน เกษตรกรผู้เลี้ยงจะต้องย้ายโคสาวท้องไปไว้รวมกับฝูงแม่โคพักการรีดนม (โคดราย) เพื่อที่จะได้เลี้ยงดูเช่นเดียวกับโคดรายต่อไป

2.3 ขณะคลอด
ในขณะคลอดโคสาวท้องควรจะมีร่างกายค่อนข้างสมบูรณ์ คือ มีคะแนนร่างกาย 3.0-4.0 ถ้าในขณะคลอดโคสาวมีคะแนนร่างกายเพียง 3.0 จะทำให้การให้นมในช่วงหลังคลอดได้ไม่มากเท่าที่ควรแต่โคสาวจะคลอดง่าย ถ้าในขณะคลอดโคสาวมีคะแนนร่างกาย 4.0 จะทำให้การให้นมในช่วงหลังคลอดดีมาก แต่อาจจะมีปัญหาการคลอดยาก ฉะนั้นเพื่อให้การให้นมของแม่โคสาวค่อนข้างดีและลดปัญหาการคลอดยาก จึงควรให้โคสาวท้องในขณะคลอดมีคะแนนร่างกาย 3.5

ข้อมูลนี้เรียบเรียงมาเพื่อทางการศึกษา ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก

4 ความคิดเห็น

  1. ละเอียดดีครับ

     
  2. ดี

     
  3. Unknown Says,

    เนื้อหาตรงกับที่สอบเลยครับ ขอบคุณครับ

     
  4. Unknown Says,

    คะแนนร่างกายใช้เกณฑ์อะไรบ้างในการวัดครับ

     

แสดงความคิดเห็น

Translation
   
Blogumulus by Roy Tanck and Amanda FazaniDistributed by CahayaBiru.com

ผู้ติดตาม

blog search directory
blog directory