โรคโคนมและโคเนื้อ เกิดเจ็บป่วยด้วยโรคแบบเดียวกัน แต่บางโรคเกิดขึ้นกับโคนมบ่อยกว่าโคเนื้อ โรคโคนมบางโรค เชื้อสาเหตุสามารถติดต่อมาถึงคนโดยผ่านทางน้ำนม ดังนั้นคนที่บริโภคน้ำนมดิบที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อโรคจึงมีโอกาสติดเชื้อโรคจากโคนมได้ เช่น วัณโรค (Tuberculosis) และโรคบรูเซลโลซิล (Brucellosis) น้ำนมโคที่จะได้คุณภาพสูงโคนมจะต้องถูกควบคุมตรวจสอบโรคบางโรคเป็นประจำ โรคของโคนมที่น่าสนใจบางโรค ได้แก่
เต้านมอักเสบ
- การให้น้ำนมของแม่โคลดลง
- ทำให้เสียเวลาในการดูแลรักษา
- เสียค่าใช้ยา และค่ารักษาพยาบาล
- น้ำนมจากโคที่เป็นโรคเต้านมอักเสบต้องเททิ้ง
- ทำให้ต้องคัดแม่โคออกจากฝูง
เต้านมอักเสบเกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ลุกลามเข้าไปในเต้านมโดยผ่านเข้าไปทางรูนม เชื้อสาเหตุมีมากมายหลายชนิด ที่พบบ่อยมักจะเป็นพวก Streptococcus หรือ Staphylococcus
โรคเต้านมอักเสบที่มีอาการรุนแรง โคจะแสดงอาการดังนี้
- เต้านมอักเสบ
- เต้านมบวม ร้อน บริเวณติดเชื้อเป็นไตแข็ง
- น้ำนมลด
- น้ำนมที่รีดได้ผิดปกติ เช่น น้ำนมจับตัวเป็นเส้น มีตะกอนสีเหลือง มีเลือดปน
- แม่โคไม่กินอาหาร ซึม มีไข้
Streptococcus
Staphylococcus
- น้ำนมที่รีดได้ผิดปกติ (มีตะกอน เป็นเกล็ด นมใส)
- เต้านมบวมและแข็ง ต่อมาอาจจะหายเป็นปกติ
- การให้น้ำนมของแม่โคลดลง
1. รักษาความสะอาดของคอก อุปกรณ์ และทุกขั้นตอนของการรีด
2. ใช้น้ำสะอาดหรือน้ำผสมน้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดเต้านมให้สะอาด แล้วเช็ดด้วยผ้าสะอาดก่อนรีดทุกครั้ง
3. อย่าใช้เวลารีดนมนานเกินไป รีดนมให้หมดเต้า แล้วจุ่มหัวนมหรือเช็ดซ้ำด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทันทีที่รีดเสร็จ
4. อย่าเปลี่ยนคนรีดโดยไม่จำเป็น และรีดให้ตรงเวลา
5. ตรวจเช็คน้ำนมทุกเต้าก่อนรีดลงถังโดยรีดใส่ภาชนะสีเข้ม และถ้าพบความผิดปกติ ให้รีดไปทิ้งห่างไกลจากคอก แล้วล้างมือให้สะอาด
6. รีดโคเต้านมอักเสบเป็นตัวสุดท้าย และรีดเต้าที่อักเสบเป็นเต้าสุดท้ายด้วย
7. รักษาทันทีที่พบว่าโคเต้านมอักเสบ แล้วรีบแจ้งหรือขอคำแนะนำจากสัตวแพทย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่เป็นรุนแรง (ดูรายละเอียดจากเรื่องยาสอดเต้านม)
8. ควรสอดยาป้องกันเต้านมอักเสบให้แก่โคที่เคยเป็นโรคนี้เมื่อหยุดรีดนม
รกค้าง (Retained placenta)
การเกิดรกค้างหมายถึงว่าหลังคลอดลูกแม่โคไม่ได้ขับรกออกมาในช่วง 12-14 ชั่วโมง ปกติแล้วร้อยละ 10-20 ของแม่โคมักจะเกิดรกค้าง ถ้าเราเกิดขึ้นบ่อยครั้งสูงกว่าเกณฑ์ปกติแสดงว่าผู้เลี้ยงควรดูแลเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด สาเหตุของรกค้างเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
- เกิดการติดเชื้อโรคในช่องอวัยวะสืบพันธุ์ของแม่โคขณะอุ้มท้อง
- แม่โคได้รับวิตามิน A หรือ E ธาตุไอโอดีน และซิลิเนียมไม่เพียงพอ
- แคลเซียมและฟอสฟอรัสในอาหารไม่สมดุล
- แม่โคอ้วนมากเกินไป (ได้รับอาหารข้นมากเกินไป)
- เกิดความเครียดเนื่องจากคลอดลูกเร็วเกินไป
การจัดการที่ดีช่วยลดการเกิดค้างได้ กรณีที่เกิดรกค้างกับแม่โคให้ปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อรักษาต่อไป
ไข้นม (Milk fever)
ไข้นมเกิดจากการขาดแคลเซียมในเลือด มักเกิดกับแม่โคที่มีอายุน้อย แม่โคที่ให้นมสูง มักเกิดภายใน 2-3 วันหลังคลอดลูก
อาการของไข้นม ประกอบด้วย
- แม่โคเบื่ออาหาร
- แม่โคมีอาการตื่นเต้น
- ซึม ตัวเย็น เนื้อจมูก (muzzle) แห้ง
- เป็นอัมพาต ล้มลงนอน เอาหัวพาดไปกับลำตัว
- ต่อมานอนเอาข้างลง เกร็งยืดตัวหัวออก
- มีอาการท้องอืด
การป้องกันทำได้โดยการจัดสัดส่วนอาหารให้มีโภชนะสมดุลปรับอัตราส่วน Ca : P ให้ถูกต้อง การรักษาสัตว์ป่วยทำได้โดยการฉีดยาสารละลายแคลเซียมเข้าเส้นเลือด
การป้องกันโรคโคนม
โรคเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำความเสียหายให้แก่ผู้เลี้ยงโคนมไม่น้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคติดต่อร้ายแรง ซึ่งถ้า เกิดขึ้นกับฟาร์มใด อาจทำให้ถึงกับต้องเลิกล้มกิจการได้ การป้องกันโรคโคนมควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
- เลี้ยงแต่โคที่แข็งแรงสมบูรณ์และปลอดจากโรค ไม่ควรเลี้ยงโคที่อ่อนแอโคที่เป็นเรื้อรังรักษาไม่หายขาด โรคทางกรรมพันธุ์ เช่น โรคไส้เลื่อน, โรคติดต่อร้ายแรง เช่นโรคแท้งติดต่อหรือวัณโรค เป็นต้น
- ให้อาหารที่มีคุณภาพดีและมีจำนวนเพียงพอ ถ้าให้อาหารไม่ถูกต้องเพียงพอ หรือให้อาหารเสื่อมคุณภาพ หรือมีสิ่งปลอมปนอาจทำให้โคเป็นโรคไข้น้ำนม, โรคขาดอาหาร รวมทั้งทำให้อ่อนแอเกิดโรคอื่น ๆ ได้ง่ายขึ้น ดังนั้นเกษตรกรควรซื้ออาหารจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และระวังอาหารที่เป็นพิษ เช่นมีเชื้อรา พืชที่พ่นยาฆ่า แมลง เป็นต้น
- จัดการเลี้ยงดูและป้องกันโรคติดต่อร้ายแรงให้เหมาะสม สำหรับข้อนี้เป็นวิธีการลงมือปฏิบัติที่ค่อนข้าง สับสน เพื่อให้เข้าใจง่าย สะดวกแก่การปฏิบัติ จึงขอแยกแยะออกเป็นข้อ ๆ ดังนี้
- คอกคลอดควรได้รับการทำความสะอาด และใช้ยาฆ่าเชื้อพ่นหรือราดทิ้งไว้ 2-3 อาทิตย์ก่อนนำแม่โค เข้าคลอด
- ลูกโคที่เกิดใหม่ต้องล้วงเอาเยือกเมือกที่อยู่ในจมูกปากออกให้หมดเช็ดตัวลูกโคให้แห้ง
- สายสะดือลูกโคที่เกิดใหม่ต้องใส่ทิงเจอร์ไอโอดีนให้โชกและใส่ยากันแมลงวันวางไข่ทุกวันจนกว่าสาย สะดือจะแห้ง
- ให้ลูกโคกินนมน้ำเหลืองโดยเร็วถ้าเป็นไปได้ควรให้กินภายใน 15 นาทีหลังคลอด
- ทำความสะอาดคอกลูกโค เช่นเดียวกันคอกคลอดก่อนนำลูกโคเข้าไปเลี้ยง
- ควรเลี้ยงลูกโคในคอกเดี่ยวเฉพาะตัว
- เครื่องมือเครื่องใช้เช่น ถังนมที่ใช้เลี้ยงลูกโคไม่ควรปะปนกัน
- ให้ลูกโคกินนมไม่เกิน 10% ของน้ำหนักตัว แบ่งออกเป็น 2 ครั้งต่อวัน
- หัดให้ลูกโคกินอาหารและหญ้าโดยเร็ว (เมื่อลูกโคอายุได้ประมาณ 1 อาทิตย์) อาหารที่เหลือต้องกวาดทิ้ง ทุกวัน น้ำสะอาดควรมีให้กินตลอดเวลา
- ลูกโคต้องตัวแห้งเสมอ วัสดุที่ใช้รองนอนต้องเปลี่ยนทุกวัน
- แยกลูกโคที่อายุต่างกันให้อยู่ห่างกัน
- ถ่ายพยาธิเมื่อลูกโคอายุ 3 เดือน และถ่ายซ้ำอีกปีละ 1-2 ครั้งหรือตามความเหมาะสม
- ฉีดวัคซีนป้องกันโรคแท้งติดต่อสะเตรน 19 ให้แก่ลูกโคเพศเมีย เมื่อลูกโคอายุ 3-8 เดือน
- เมื่อลูกโคหย่านมต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อร้ายแรงดังนี้
- ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าต้องฉีดให้ครบ 3 ชนิด (เอ, เอเชียวันและโอ) และฉีดซ้ำทุก 6 เดือน
- ฉีดวัคซีนโรคเฮโมรายิกเซพติซิเมีย (โรคคอบวม) และฉีดซ้ำทุก 6 เดือน
- ฉีดวัดซีนโรคแอนแทรกซ์ (โรคกาลี) และฉีดซ้ำทุกปี
16. แม่โคที่แสดงอาหารแบ่งนานเกิน 3 ชั่วโมงแล้วไม่สามารถคลอดลูกได้ หรือแม่โคที่คลอดลูกแล้วมีรก ค้างเกิน 12 ชม. ควรตามสัตวแพทย์
17. จัดการป้องกันโรคเต้านมอักเสบโดยเคร่งครัดดังนี้
บริเวณคอกต้องแห้ง ไม่มีที่ชื้นแฉอะแฉะ เป็นโคลนตมไม่มีวัตถุแหลมคม เช่นรั้ว ลวดหนาม ตาปู
- รีดนมตามลำดับโดยรีดโคสาวก่อน แล้วรีดโคที่มีอายุมากขึ้น ส่วนโคที่เป็นโรคให้รีดหลังสุด
- ก่อนรีดต้องเช็ดเต้านมด้วยยาฆ่าเชื้อ เช่น น้ำคลอรีน ผ้าที่ใช้เช็ดเต้านมควรใช้เฉพาะตัวไม่ปะปนกัน
ดีมากเลยครับ กำลังหาอยู่พอดี
ขอบคุณครับ แวะมาเยี่ยมชมบล็อกเราบ่อยๆ นะครับ