| More

การผสมเทียมโค ( Artificial Insemination in Cattle )

เขียนโดย Add Blogger วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ประวัติการผสมเทียม

รายงานแรกสุดของการผสมเทียมมีบันทึกไว้ในปี ค.ศ.1780 ในประเทศอิตาลี เป็นการผสมเทียมในสุนัข จากรายงานนี้มาจนถึงปี ค.ศ.1900 ได้มีการพยายามใช้เทคนิคการผมสมเทียม (artificial insemination ; AI) มาประยุกต์ใช้ในปศุสัตว์ โดยปี ค.ศ.1930 นักวิจัยประเทศรัสเซีย lvanov และคณะ ประสบความสำเร็จในการผสมเทียมโคและแกะ หลังจากนี้การผสมเทียมได้รับการพัฒนาและถูกนำไปใช้อย่างมากโดยให้บริการเป็นรูปแบบการค้ามากขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร(ประเทศอังกฤษ) ศูนย์ผสมเทียมแห่งแรกของประเทศอังกฤษตั้งขึ้นที่เมืองเคมบริดจ์โดยต่อกระทรวงเกษตร (Ministry of Agriculture and Food’s Cattle Breeding Centre) ได้ขายกิจการให้สภานมแห่งสหราชอาณาจักร (Milk Marketing Board of England and Wales; MMB) โดย MMB ได้จัดตั้งงานบริการผสมเทียมแห่งชาติขึ้น (National al Service) ในปี ค.ศ.1944 และขยายศูนย์บริการผสมเทียมไปอีก 32 แห่ง ปี ค.ศ.1951 เกิดเครือข่ายงานบริการผสมเทียมขึ้นลักษณะเดียวกันนี้ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งต่อมาปรับรูปแบบเป็นธุรกิจดำเนินการโดยสหกรณ์การผสมเทียม (Al Corporations and Coopperative)

ในปี ค.ศ.1949 ประเทศอังกฤษ Bolge และคณะได้พัฒนาน้ำเชื้อแช่แข็ง และใช้ยาปฏิชีวนะเพนิซิลินผสมในอาหารเลี้ยงเชื้อและใช้กลีเซอรอล (glycerol)ป้องกันอสุจิถูกทำลายจากขบวนการแช่แข็งโดยระยะแรกใช้น้ำแข็งแห้งหรือคาร์บอนไดออกไซด์แข็ง (solid carbon dioxide) ช่วยในการแช่แข็ง ต่อมาปี ค.ศ.1963 ได้นำเอาไนโตรเจนเหลว (liquid nitrogen) มาใช้ในการแช่แข็งและเก็บรักษาน้ำเชื้ออสุจิแทนคาร์บอนไดออกไซด์แข็งโดยรูปแบบบรรจุน้ำเชื้อยังเป็นรูปแบบหลอด (ampoules) หรือแบบเม็ด (pellets) ต่อมาประเทศเบลเยี่ยมและฝรั่งเศสได้ใช้หลอดพลาสติกขนาดเล็กหรือหลอดฟาง (plasticministraw)บรรจุน้ำเชื้อเพื่อเก็บรักษาโดยการแช่แข็งและในปีค.ศ.1973 บริษัทเอ็มเอ็มบี (MMB) ของประเทศอังกฤษได้ใช้หลอดฟางขนาดบรรจุ 0.25 มิลลิลิตร (French minstraw) มาใช้บรรจุน้ำเชื้อแช่แข็งและนำออกใช้บริการ การพัฒนาขบวนการผลิตน้ำเชื้อแช่แข็งให้สะดวกใช้มีผลให้การผสมเทียมได้รับความนิยมมากทั่วยุโรปและอเมริกาโดยพบมากกว่า 56 เปอร์เซ็นต์ ใช้การผสมเทียมแทนการผสมโดยธรรมชาติ ส่วนประเทศแคนาดา ประเทศสเปน การผสมพันธุ์โคนมเกือบทั้งหมดจะใช้การผสมเทียม

การนำเทคโนโลยีการผสมเทียมไปใช้ในการขยายพันธุ์โคหลายประเทศมีข้อกำจัดมากและมีผลให้การบริการผสมเทียมไม่สะดวก ด้วยระบบการเลี้ยงเป็นฟาร์มขนาดเล็ก ฟาร์มอยู่ไกลศูนย์บริการผสมเทียม เกษตรกรต้องนำโคที่ตรวจพบว่าเป็นสัดมาที่ศูนย์บริการผสมเทียมหรือการแจ้งให้เจ้าหน้าที่ผสมเทียมจากศูนย์ฯมาทำการผสมเทียมที่ฟาร์มอาจแจ้งรับบริการผสมเทียมช้าหรือเจ้าหน้าที่ผสมเทียมไปไม่ทันเวลาผสมที่เหมาะสม ทำให้อัตราการผสมติดจากการผสมเทียมไม่ดีเท่าที่ควร เป็นผลให้จำนวนโคที่เกิดจากการผสมเทียมจำนวนไม่มากเมื่อเทียบกับประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกาที่การใช้วิธีขยายพันธุ์โดยการผสมเทียมได้ผลดี มีลูกโคที่เกิดจากการผสมเทียมจำนวนมาก

การผสมเทียมเป็นวิทยาการสืบพันธุ์ในปศุสัตว์ที่แพร่หลายและได้รับการยอมรับใช้มานานด้วยข้อดีหลายประการในโคที่มีการทำฟาร์มในรูปแบบการผลิตขนาดกลางและใหญ่โดยมีเป้าหมายการเพิ่มผลผลิตที่เน้นการปรับปรุงพันธุ์ที่ดีในเวลาสั้น ซึ่งทำได้ดีกว่าการผสมตามธรรมชาติ ในธุรกิจการทำฟาร์มโคนม การใช้การผสมเทียมในฟาร์มช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้อย่างเห็นชัดด้วยข้อดีของการผสมเทียมที่มีการทำน้ำเชื้อแข็งพ่อพันธู์ทำให้สามารถเก็บน้ำเชื้อพ่อพันธุ์ได้นานกว่าการมีชีวิตพ่อพันธุ์ และการรีดน้ำเชื้อแต่ละครั้งสามารถแบ่งน้ำเชื้อไปผสมกับแม่โคที่เป็นสัดได้หลายตัว การนำเทคนิคการผสมเทียมมาใช้มีผลต่อการปรับขบวนการจัดการฟาร์มการดูแลแม่โคทำให้กิจการผสมเทียมมีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมการผลิตปศุสัตว์ในประเทศที่มีการพัฒนาการเลี้ยงโคนมมานาน เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย โดยปกติแล้วการผสมเทียมจะใช้ในการผสมโคพันธุ์แท้เป็นหลักแต่การผสมเทียมช่วยให้การผสมข้ามพันธุ์ทำได้สะดวกมากกว่าการผสมจริงโดยเฉพาะในโคเนื้อที่มักถูกปล่อยเลี้ยงในพื้นที่กว้างอย่างกระจัดกระจายทำให้การสร้างสายพันธุ์ใหม่โดยใช้ลูกผสมที่มีการคัดเลือกเฉพาะลักษณะที่ต้องการ มีชีวิตอยู่ได้เหมาะสมในสภาพท้องถิ่นนั้นๆ ทำได้ง่ายขึ้น แต่อย่างไรก็ตามปัญหาหลักของการผสมเทียมคือ การตรวจการเป็นสัดในโคเพศเมียเพื่อทำการผสมเทียมในเวลาที่เหมาะสม ทำให้ธุรกิจโคเนื้อ เจ้าของฟาร์มนิยมการปล่อยโคพ่อพันธุ์คุมฝูงมากกว่าการผสมเทียม ทั้งที่ทราบข้อด้อยของการผสมพันธุ์โดยวิธีธรรมชาติ การนำเอากลยุทธ์การเหนี่ยวนำให้เป็นสัดพร้อมกัน(synchronizationofoestrus)หรือหนี่ยวนำการเป็นสัดในโคบางตัวมาใช้จะเพิ่มประสิทธิภาพการผสมเทียมในโคเนื้อได้มากขึ้น ปัจจุบันทั้งในต่างประเทศและประเทศไทยฟาร์มขนาดใหญ่มักจะใช้การผสมเทียมด้วยน้ำเชื้อแช่แข็งที่ซื้อจากองค์กรผลิตน้ำเชื้อที่มีการพิสูจน์พ่อพันธุ์ (proven sire) ขณะที่บางฟาร์มใช้น้ำเชื้อสดน้ำเชื้อแช่แข็งหรือน้ำเชื้อแช่แข็งที่ผลิตเองจากพ่อพันธุ์ในฟาร์มตลอดจนใช้การผสมจริงโดยพ่อพันธุ์ในฟาร์มร่วมด้วยโดยเฉพาะในฟาร์มโคเนื้อด้วยเหตุผลที่ต้องการทำให้ผลรวมการผสมติดสูงสุดเพื่อเพิ่มการผลิตในฟาร์มให้คุ้มทุนมากที่สุด

ประวัติการผสมเทียมในประเทศไทย

การผสมเทียมในประเทศไทยเริ่มขึ้นโดย ในปี พ.ศ.2496 ศาสตรจารย์นีลล์ ลาเกอร์ ลอฟ ชาวสวีเดน ผู้เชี่ยวชาญองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติได้เดินทางมาสำรวจการเลี้ยงปศุสัตว์ในประเทศไทยได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันเพื่อทูลเก้าฯถวายโครงการผลิตโคนมลูกผสมด้วยวิธีการผสมเทียมในประเทศไทยเพื่อให้ประเทศไทยสามารถผลิตน้ำนมได้เองภายในประเทศ ทดแทนการนำเข้านมและผลิตภัณฑ์นมจากต่างประเทศ หลังจากนั้น ในปี พ.ศ.2497 กรมปศุสัตว์ได้ส่งนายสัตวแพทย์ทศพร สุทธิคำ และนายสัตวแพทย์อุทัย สาลิคุปต์ ไปศึกษาอบรมนานาชาติ ณ ราชวิทยาลัยสัตวแพทย์ กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ซึ่งองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติร่วมกับรัฐบาลสวีเดน ได้เปิดหลักสูตรฝึกอบรมวิชาการสืบพันธุ์และการผสมเทียมขึ้นเป็นรุ่นแรกเมื่อจบการศึกษากลับประเทศไทยได้เริ่มต้นก่อตั้งสถานีผสมเทียม เพื่อให้บริการผสมเทียมแก่ปศุสัตว์ของเกษตรกร และถ่ายทอดความรู้ด้านการผสมเทียมแก่นักวิชาการของกรมปศุสัตว์ ในปี พ.ศ.2499 กรมปศุสัตว์ได้เปิดสถานีผสมเทียมแห่งแรกที่จังหวัดเชียงใหม่วันที่ 9 กันยายนพ.ศ.2499 นายสัตวแพทย์ทศพร ได้ผสมเทียมให้แม่โคตัวแรก แม่โคตั้งท้องคลอดลูกเป็นลูกโคเพศเมีย ดังนั้นจึงถือว่าวันที่ 9 กันยายนของทุกๆ ปี เป็นวันกำเนิดงานผสมเทียมของประเทศไทย

องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) จัดตั้งในปีพ.ศ.2503 โดยสมาคมเกษตรกรประเทศเดนมาร์กและรัฐบาลเดนมาร์กร่วมน้อมเกล้าฯ ถวายแด่ล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์ มีพิธีเปิดเป็นทางการในปี พ.ศ.2505 ต่อมารัฐบาลไทยรับโอนกิจการฟาร์มโคนมจัดตั้งเป็นรัฐวิสาหกิจในปี พ.ศ.2514 มีกิจกรรมด้านส่งเสริมการเลี้ยงโคนม รวมถึงการให้บริการผสมเทียม การผลิตน้ำเชื้อแช่แข็งพ่อพันธุ์โคนม และการพิสูจน์พ่อพันธุ์โคนม

สำนักงานทหารพัฒนากองอำนวยการกลางรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ กองบัญชาการทหารสูงสุด(กรป.กลาง)ได้ปฏิบัติงานพัฒนาชนบทและปี พ.ศ.2511 จัดทำโครงการส่งเสริมขยายพันธุ์สัตว์ให้บริการผสมเทียมโคเนื้อและผลิตน้ำเชื้อแช่แข็งโคเนื้อ

ในประเทศไทยได้ใช้เทคนิคการผสมเทียมในการขยายพันธุ์โคมานานเกือบ 50 ปี โดยกรมปศุสัตว์ได้นำเข้าน้ำเชื้อแช่แข็งจากต่างประเทศมาโดยตลอดโดยนำเข้าจากประเทศต่างๆ เช่น เดนมาร์ก สวีเดน เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมัน และญี่ปุ่น เป็นการนำเข้ามาเพื่อใช้บริการผสมเทียมเพื่อการปรับปรุงพันธุ์โคนม โคเนื้อในประเทศต่อมากรมปศุสัตว์ได้เริ่มเลี้ยงพ่อพันธุ์โคเพื่อการผลิตน้ำเชื้อแช่แข็งออกบริการเอง โดยได้นำเข้าพ่อพันธุ์โคจากต่างประเทศมารีดน้ำเชื้อและคัดเลือกพ่อพันธุ์โคที่เกิดในประเทศที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกเพื่อพัฒนาสายพันธุ์มาผลิตน้ำเชื้อแช่แข็งใช้ในประเทศไทย ในปัจจุบันมีหลายหน่วยงานที่ผลิตน้ำเชื้อโคในประเทศไทยคือ กรมปศุสัตว์ผลิตน้ำเชื้อแช่แข็งพ่อพันธุ์โคนม โคเนื้อ และปศุสัตว์ชนิดอื่นๆ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ผลิตน้ำเชื้อแช่แข็งพ่อพันธุ์โคนม กรป.กลาง (สำนักงานทหารพัฒนา กองอำนวยการรักษาความสงบแห่งชาติ) ผลิตน้ำเชื้อแช่แข็งพ่อพันธุ์โคเนื้อ นอกจากนี้สถาบันการศึกษาและฟาร์มเอกชนหลายแห่งได้ผลิตน้ำเชื้อแช่แข็งใช้เองและให้บริการเกษตรกรอยู่บ้างอย่างไรก็ตามปัญหาสำคัญในประเทศไทยคือระบบข้อมูลเพื่อการจัดการฟาร์มและการปรับปรุงพันธุ์มีค่อนข้างจำกัดเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูงมากและใช้ระยะเวลานานในประเทศไทยหน่วยงานกรมปศุสัตว์ และ อ.ส.ค. ได้มีการทำงานด้านระบบฐานข้อมูลโคนม และได้นำผลวิเคราะห์ค่าการผสมพันธุ์ (Breeding index; BI) ออกเผยแพร่เพื่อให้เกษตรกรใช้ประกอบการเลือกใช้พ่อพันธุ์โคนมและโคเนื้อ

ข้อดีของการผสมเทียม (Advantages of artificial insemination)

การปรับเปลี่ยนจากการผสมจริงของโคในธรรมชาติมาใช้เทคโนโลยีการผสมเทียมในโคต่อเกษตรกรนั้นมีข้อจำกัดคือ การต้องมีการตรวจการเป็นสัดที่ดี และมีระบบการจัดการภายในฟาร์มที่ดีจึงจะทำให้การผสมเทียมประสบความสำเร็จอย่างไรก็ตามประโยชน์ที่ได้รับจากใช้การผสมเทียมในโคมีอยู่มากคือ

  • การปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์ที่ดีได้รวดเร็วในเวลาสั้น (Genetic gain) ประโยชน์ข้อนี้นับเป็นข้อดีที่สำคัญที่สุดของการผสมเทียม นอกจากนี้เทคนิคนี้ทำให้สามารถควบคุมโรคทางระบบการสืบพันธุ์ได้ ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญประการหนึ่งของการใช้ผสมเทียมแทนการผสมตามธรรมชาติการที่จะใช้เทคนิคการผสมเทียมเพื่อกระจายพันธุ์ดี เกษตรกรจะเลือกใช้พ่อพันธุ์ที่มีข้อมูลการประเมินคุณภาพการถ่ายทอดพันธุกรรม ที่ประเมินจากฝูงโคขนาดใหญ่ในประเทศ ซึ่งค่าใช้จ่ายในการทำการพิสูจน์พ่อพันธุ์ (การจัดเก็บข้อมูลผลผลิตลูกสาวจากพ่อตัวนั้นการประมวลวิเคราะห์ผลด้วยโปรแกรมเฉพาะ การคัดเลือกเพื่อปรับปรุงพันธุ์) ค่อนข้างสูงมากและใช้เวลานานเพราะต้องติดตามข้อมูลผลผลิตอย่างน้อยหนึ่งระยะให้นมของลูกสาว ดังนั้นประเทศที่มีการผลิตน้ำเชื้อแช่แข็งใช้จะต้องมีระบบข้อมูลที่ดีและมีระบบการประเมินคุณภาพพ่อพันธุ์หรือค่าการผสมพันธุ์โคทุกตัว ที่ใช้น้ำเชื้อบริการอยู่เป็นประจำ (ประเมินปีละ 1 – 2 ครั้ง) ในประเทศไทยกรมปศุสัตว์ และ อ.ส.ค. เป็นหน่วยงานหลักดำเนินการผลิตน้ำเชื้อแช่แข็งและประเมินค่าการผสมพันธุ์โคนมในประเทศไทยส่วนโคเนื้อกรมปศุสัตว์เป็นหน่วยงานหลักที่ติดตามประเมินค่าการผสมพันธุ์โคเนื้อ
  • การใช้จ่ายเพื่อการผสมพันธุ์ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Cost effectiveness) แม้ว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ให้ความสำคัญต่อประโยชน์ของการผสมเทียมโดยเฉพาะในด้านศักยภาพการถ่ายทอดพันธุกรรมหรือผสมเทียมเพื่อปรับปรุงพันธุ์ได้ดีขึ้น แต่ประโยชน์ที่เจ้าของฟาร์มคำนึงถึงการนำเอาการผสมเทียมมาใช้แทนการผสมตามธรรมชาติที่สำคัญคือการลดค่าใช้จ่ายการลดต้นทุนการผลิต ด้วยข้อดีน้ำทำให้การผสมเทียมในโคได้รับการยอมรับและแพร่หลายใช้ทั่วโลก การซื้อพ่อโคพันธุ์ดีมาเลี้ยงเพื่อใช้ผสมจริงมีข้อเสียมากทั้งค่าใช้จ่ายเลี้ยงดูค่าพันธุ์หรือค่าตัวพ่อโค การควบคุมโรคทางการสืบพันธุ์ในฝูงพันธุกรรมของลูกที่เกิดที่ไม่ชัดเจนว่าพ่อที่ผสมเป็นตัวใดกรณีที่มีพ่อหลายตัวปล่อยคุมฝูง นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงสัดส่วนที่เหมาะสมของพ่อโคต่อจำนวนแม่โคในฝูง จะต้องมีการเฝ้าระวังโดยตรวจสอบอัตราการผสมติดอย่างไรก็ตามปัญหาพ่อโคที่ไม่สมบูรณ์พันธุ์หรือมีปัญหาการผสม (infertile or subfertile) มักทราบหลังจากใช้คุมฝูงไปนานหลายเดือนแล้ว ซึ่งจะนำความสูญเสียต่อผลผลิตของฟาร์มในปีนั้นๆ การตรวจพ่อพันธุ์ที่มีปัญหาทั้งระบบสืบพันธุ์และคุณภาพน้ำเชื้อสามารถทำได้ แต่เจ้าของฟาร์มต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเก็บพ่อโคที่ใช้งานไม่ได้ ซึ่งค่าตัวพ่อโคพันธุ์ดีแต่ละตัวสูงมาก ทำให้เมื่อประเมินความคุ้มทุนเทียบกับการซื้อน้ำเชื้อแช่แข็งที่ผ่านการพิสูจน์พันธุ์แล้ว (มี breeding index และการตรวจรับรองการปลอดโรคที่กำหนด) จะคุ้มทุนมากกว่าน้ำนมและองค์ประกอบดีแล้วแต่มีลักษณะเต้านมไม่สวย เกษตรกรอาจเลือกใช้พ่อพันธุ์ที่ถ่ายทอดลักษณะเต้านมที่แข็งแรงมาผสมแม่ตัวนี้ เพื่อให้ได้ลูกสาวที่คาดว่าจะมีผลผลิตน้ำนมดีและโครงสร้างเต้านมแข็งแรง ไม่หย่อนยานเมื่ออายุมาก เพราะลักษณะดังกล่าวมีส่วนสัมพันธ์ต่อการเป็นโรคเต้านมอักเสบและแม่โคมีโอกาสเหยียบหัวนมตัวเองมากขึ้นหรือเกษตรกรอาจต้องการพ่อพันธุ์ที่ถ่ายทอดลักษณะขาที่แข็งแรงหรือพ่อโคที่ถ่ายทอดการให้น้ำนมที่มีไขมันสูงตามเกณฑ์มาตรฐานราคาน้ำนมดิบในประเทศนั้น ด้วยความต้องการที่หลากหลายเพื่อปรับปรุงลักษณะที่ต้องการในลูกรุ่งต่อๆ ไป ทำให้การเลือกใช้น้ำเชื้อแช่แข็งจากพ่อพันธุ์ที่พิสูจน์แล้วหลายๆ ตัวมีความสะดวกมากกว่าการซื้อพ่อพันธุ์ที่ถ่ายทอดลักษณะที่ต้องการในจำนวนจำกัดมาเลี้ยงไว้เพื่อผสมพันธุ์ในฟาร์ม

ข้อเสียของการผสมเทียม (Disadvantages of artificial insemination)

เทคโนโลยีการสืบพันธุ์โดยใช้เทคนิคการผสมเทียมมีคุณประโยชน์มากมายแต่ก็มีข้อเสียที่ควรตระหนักและต้องระมัดระวังเสมอสำหรับผู้ใช้คือ

  • ขบวนการการรีดน้ำเชื้อ การผลิตน้ำเชื้อแช่แข็ง และเทนนิคการผสมเทียม ไม่ว่าจะเป็นการรีดเก็บน้ำเชื้อ การตรวจคุณภาพการแช่แข็ง การเก็บรักษา การจัดส่งน้ำเชื้อแช่แข็ง และการผสมเทียมต้องทำอย่างถูกต้องระมัดระวัง นอกจากนี้ต้องมั่นใจว่า โรคทางการสืบพันธุ์ เช่นโรคแท้งติดต่อ โรคทริโคโมนิเอซิส โรคแคมไพโรแบคเทอริโอซิส และโรคอื่นๆ จะไม่แพร่โดยน้ำเชื้อจากพ่อโคที่เป็นโรค หรือติดต่อจากอุปกรณ์ผสมเทียมที่นำเชื้อโรคจากแม่โคที่เป็นโรคไปยังโคตัวอื่นๆสถานีพ่อพันธุ์จะต้องปลอดโรคเหล่านี้ (โรคที่ถ่ายทอดทางการสืบพันธุ์และถ่ายทอดผ่านทางน้ำเชื้อแช่แข็งได้) หากน้ำเชื้อถูกเก็บรักษาหรือมีขบวนการแช่แข็งที่ไม่เหมาะสมแล้ว จะมีผลให้คุณภาพน้ำเชื้อต่ำ ส่งผลให้อัตราการผสมเทียมติดต่ำ นอกจากปัจจัยการตรวจการเป็ดสัดที่ถูกต้องแล้ว การผสมเทียมในเวลาเหมาะสมเป็นปัจจัยที่สำคัญมากต่ออัตราการผสมติดการลงบันทึกข้อมูลการผสมพันธุ์ที่สมบูรณ์ถูกต้องจะต้องทำเพื่อสนับสนุนประสิทธิภาพการผสมเทียม ผู้ทำการผสมเทียม (inseminators) หากทำการผสมเทียมโดยไม่สะอาดไม่ระมัดระวังแล้วจะเป็นทางแพร่โรคจากฟาร์มหนึ่งไปยังอีกฟาร์มหนึ่งได้ หรือเป็นการนำเชื้อโรคเข้าสู่ระบบสืบพันธุ์แม่โคได้
  • โรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ การผสมเทียมเป็นทางหนึ่งที่จะทำให้มีการขยายพันธุ์ที่ดีได้รวดเร็วในระยะเวลาอันสั้นในทำนองเดียวกันการผสมเทียมเป็นทางแพร่พันธุกรรมที่มีความผิดปกติได้หากไม่ตรวจพบได้ก่อนการนำน้ำเชื้อออกบริการโรคที่มีการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้ เช่น ลักษณะโคที่ไม่ดี (poor conformation) โดยเฉพาะขาไม่แข็งแรง โรคปัญหาของสันหลัง (spastic syndrome) การมีพฤติกรรมการผสมพันธุ์ที่ไม่สมบูรณ์ การไม่มีความต้องการผสมพันธุ์หรือไม่มีกำหนัด (lack of libido) โรคถุงน้ำในรังไข่ (cystic ovaries) นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าโรคเต้านมอักเสบสามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้เช่นกันโรคที่แฝงมากับยีนด้อยที่ในประเทศสหรัฐอเมริกาทำการตรวจพ่อพันธุ์ทุกตัวก่อนการนำน้ำเชื้อไปใช้ มีการตรวจหลายโรค เช่น โรคแบลด (bovine leukocyte adhesion deficiency: BLAD) หากพ่อโคปลอดโรคนี้จะมีรหัส *TL ที่ข้อมูลพิสูจน์ประจำตัวพ่อพันธุ์(breeding index) โรคดัมปส์ (deficiency of uridine monophosphate syntheses: DUMPS) หากพ่อโคปลอดโรคนี้จะมีรหัส *TD ที่ข้อมูลพิสูจน์ประจำตัวพ่อพันธุ์ โรคมูลฟุต (mule-foot หรือ syndcyylism; MF) หากพ่อโคปลอดโรคนี้จะมีรหัส *TM ที่ข้อมูลพิสูจน์ประจำตัวพ่อพันธุ์ ยังมีปัญหาจากยีนด้อยแอบแฝงอื่นๆ อีกหลายโรคที่ผู้สั่งซื้อน้ำเชื้อแช่แข็งจากต่างประเทศต้องศึกษา เพื่อการเลือกใช้พ่อที่มีคุณสมบัติตามต้องการ ไม่เป็นตัวกระจายโรคและปัญหาแอบแฝงต่างๆ นอกจากนี้ในประเทศที่มีระบบข้อมูลประเมินค่าการผสมพันธุ์ของพ่อพันธุ์ที่สมบูรณ์ (sire evaluation) จะมีการประเมินการถ่ายทอดลักษณะรูปร่าง (type traits) เช่น ลักษณะเต้านม ขา เท้า การให้ผลผลิตน้ำนมและองค์ประกอบหลักของน้ำนม (production traits) เช่น ปริมาณโปรตีนและไขมันในน้ำนม หน่วยงานที่ผลิตน้ำเชื้อพ่อพันธุ์โคเพื่อจำหน่ายจะต้องมีการตรวจรับรองการปลอดโรค และค่าการถ่ายทอดพันธุกรรมของพ่อโคเหล่านี้ เช่น น้ำเชื้อจากประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา ยุโรปบางประเทศ จะระบุผลตรวจโรคทางพันธุกรรม ในข้อมูลค่าการผสมพันธุ์ประจำตัวพ่อพันธุ์ (breeding index)
  • ผลเสียและข้อจำกัดอื่นๆ หากทำการผสมเทียมในสัตว์ตั้งท้องจะมีผลทำให้แท้งลูกได้ ดังนั้นผู้ผสมเทียมต้องตรวจระบบสืบพันธุ์และประวัติการผสมให้ถูกต้องก่อนการผสมเทียมทุกครั้งการบริการผสมเทียมจากองค์กรของรัฐอาจทำได้ไม่ตรงเวลาและไม่ทำงานทุกวันทำให้โคอาจไม่ได้รับการผสมเทียมในวันและเวลาที่เหมาะสม เกษตรกรบางฟาร์มทำการผสมเทียมเองโดยได้รับการฝึกอบรมจากกรมปศุสัตว์และสถาบันการศึกษา เพื่อช่วยให้ทำการผสมเทียมได้ถูกต้องและตรงเวลาที่เหมาะสมกับการเป็นสัดได้ดีขึ้นอกจากนี้ความเสี่ยงของการใช้พ่อพันธุ์ตัวเดียวผสมในฝูงคือจะเป็นตัวนำความผิดปกติที่ตรวจไม่พบเมื่อเป็นโคหนุ่มแต่พบเมื่อพ่อตัวนี้โตแล้วซึ่งเวลานั้นลูกที่เกิดจากพ่อตัวนี้มีจำนวนมากในฟาร์มและแสดงความผิดปกติหรือแฝงความผิดปกติอยู่ในลูกทุกตัวแล้ว ในสถานีพ่อพันธุ์มีขบวนการพิสูจน์พ่อพันธุ์ จากข้อมูลการให้ผลผลิตและลักษณะเฉพาะพันธุ์ในลูกสาว ทำให้พบลักษณะที่ไม่ต้องการต่างๆ ก่อนการนำน้ำเชื้อออกใช้ในจำนวนมากแต่อย่างไรก็ตามหากความผิดปกติไม่สามารถตรวจพบในขบวนการพิสูจน์พ่อพันธุ์ก่อนการนำน้ำเชื้อออกบริการการผสมเทียมก็จะเป็นการกระจายความผิดปกติได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวางกว่าการผสมจริงเช่นกัน จะเห็นว่า “การผสมเทียมมีคุณอนันต์ แต่หากใช้อย่างไม่รอบคอบก็นำโทษมหันต์มาให้”



การผสมเทียม

การผสมเทียม หมายถึงการรีดน้ำเชื้อจากสัตว์พ่อพันธุ์แล้วนำไปฉีดเข้าในอวัยวะของสัตว์ตัวเมียนั้น แสดงอาการของการเป็นสัดแล้วทำให้เกิดการตั้งท้องแล้วคลอดออกมาตามปกติ



อ้างอิงรูปภาพจาก L.O.V.E



ภาพตัวอย่างของอุปกรณ์การผสมเทียม อ้างอิงรูปจาก www.brahman.com.kh


ประโยชน์ของการผสมเทียม
  1. ทำให้ประหยัดพ่อพันธุ์เมื่อรีดเก็บน้ำเชื้อจากสัตว์พ่อพันธุ์ได้แต่ละครั้ง สามารถนำมาละลายน้ำเชื้อ แล้วแบ่งใช้ผสมกับสัตว์ตัวเมียได้จำนวนมาก
  2. สามารถผสมพันธุ์สัตว์ที่มีขนาดใหญ่หรือเล็กต่างกันได้โดยไม่มีอันตรายจากการขึ้นทับของพ่อพันธุ์
  3. ไม่ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงพ่อพันธุ์
  4. ตัดปัญหาในเรื่องขนส่งโคไปผสม เพราะสามารถนำน้ำเชื้อไปผสมได้ไกล ๆ
  5. บังคับสัตว์ให้ตกลูกได้ตามฟดูกาล คือเลือกระยะเวลาผสมให้ตกลูกตามระยะที่ต้องการ
  6. แก้ปัญหาการผสมติดยาก เช่น กรณีปากมดลูกกดหรือตีบช่องคลอดผิดปกติ เป็นต้น
  7. ป้องกันโรคติดต่อและโรคระบาด เพราะใช้น้ำเชื้อพ่อพันธุ์ปราศจากโรคและเครื่องมือใช้ในการผสม ได้รับการฆ่าเชื้อโรคเป็นอย่างดีและใช้ผสมเฉพาะตัว
  8. ย่นระยะเวลาการพิสูจน์พ่อพันธุ์ เพราะผสมได้จำนวนมากในระยะสั้น
ระยะเวลาที่เหมาะสมในการผสมเทียม
โคตัวเมียที่แสดงอาการเป็นสัดดังกล่าวควรจะได้รับการผสมเทียมในระยะเวลาช่วงกลางของการเป็นสัด หรือใกล้ระยะที่จะหมดการเป็นสัด (อาจจะหมดการเป็นสัดไปแล้วประมาณ 6 ชั่วโมง ก็ได้หรือเมื่อโคเมีย ตัวนั้นยืนนิ่งให้ตัวอื่นขึ้นขี่ซึ่งใช้เป็นหลักในการผสมพันธุ์) โดยทั่ว ๆ ไป โคเมียจะมีระยะเป็นสัดประมาณ 18 ช.ม. แล้วต่อมาอีก 14 ช.ม. จึงจะมีไข่ตกเพื่อรอรับการผสมพันธุ์กับน้ำเชื้อพ่อโค จึงเห็นสมควรที่ต้อง เลือกเวลาที่เหมาะสม ในการดำเนินการเรื่องของรับบริการผสมเทียมดังมีหลักการที่จะใช้ในการปฏิบัติ งานผสมเทียมคือ
  1. เมื่อโคเมียตัวใดแสดงอาการเป็นสัดในตอนรุ่งเช้าของวันใดวันหนึ่งควรที่จะได้รับการผสมเทียมในวัน เวลาเดียวกัน (ก่อน 16.30 น.) ฉะนั้นพอรุ่งเช้าของแต่ละวันเจ้าของสัตว์ควรจะได้ไปแจ้งและบอกเวลา (ประมาณ) ที่ท่านได้เห็นสัตว์ของท่านแสดงอาการเป็นสัด
  2. ถ้าโคตัวเมียใดแสดงอาการเป็นสัดในตอนบ่ายของวันใดวันหนึ่งควรที่จะได้รับการผสมเทียมตอนเช้า หรือก่อนเที่ยงของวันรุ่งขึ้น ฉะนั้นเจ้าของสัตว์เมื่อพบว่าสัตว์แสดงอาการเป็นสัดในตอนบ่ายหรือตอนเย็น ท่านควรจะไปแจ้งและบอกเวลาของการเป็นสัด (ประมาณ) ในรุ่งเช้าของวันต่อไปก็ได้
ถ้าท่านได้ศึกษาและรู้จักสังเกตการแสดงอาการเป็นสัดว่าอาการเป็นอย่างไรและหาระยะเวลาที่จะผสม เทียมให้พอเหมาะแล้ว จะเป็นการช่วยแก้ปัญหาเรื่องการผสมเทียมติดยากหรือผสมไม่ค่อยติดในโคตัวเมีย ของท่านได้ทางหนึ่ง และจะทำให้เป็นประโยชน์ในด้านการเพิ่มจำนวนและปริมาณน้ำนมในกิจการโคนม ของท่านยิ่งขึ้น จึงเห็นสมควรที่จะเรียกช่วงเวลาอันสำคัญนี้ว่า "นาทีทองในโคนมตัวเมีย"




จะรู้ได้อย่างไรว่าโคตั้งท้องหรือไม่
เมื่อโคนางได้รับการผสมไปแล้วประมาณ 21 วัน หากโคไม่กลับมาแสดงอาการเป็นสัดอีกก็อาจคาดได้ว่า ผสมติดหรือโคตัวนั้นเริ่มตั้งท้องแล้วหรือเพื่อให้รู้แน่ชัดยิ่งขึ้นภายหลังจากการผสมโคนางแล้ว 50 วันขึ้นไป อาจติดต่อสัตวแพทย์ หรือบุคคลผู้มีความชำนาญในการตรวจท้องแม่โค (โดยวิธีล้วงเข้าไปคลำลูกโคทางทวาร ของแม่โค) มาทำการตรวจท้องแม่โคก็จะทราบได้แน่ชัดยิ่งขึ้น
ข้อสังเกต ในกรณีโคสาวจะสังเกตุได้จากการเจริญเติบโตที่เร็วขึ้น กินจุขึ้นความจุของลำตัวโดยเฉพาะส่วนท้อง ซี่โครง จะกางออกกว้างขึ้น ขนเป็นมันและไม่เป็นสัดอีก


ข้อมูลนี้นำมาเรียบเรียงเพื่อการศึกษาอ้างอิงจาก
www.dpogenetics.com
เอกสารเผยแพร่การเลี้ยงโคนม

read more “การผสมเทียมโค ( Artificial Insemination in Cattle )”

พันธุ์โคนมที่สำคัญ

เขียนโดย Add Blogger วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552


พันธุ์โคนมที่ถือกันว่าเป็นพันธุ์หลักมีอยู่ 5 พันธุ์ด้วยกัน คือ แอร์ไซร์ ( Ayrshire ), บราวน์สวิส ( Brown Swiss ), เกิร์นซี ( Guernsey ), โฮลสไตน์ ฟรีเซียน ( Holstein-Friesian ), และเจอร์ซี ( Jersey )


แอร์ไซร์ ( Ayrshire )



ถิ่นกำเนิด สก๊อตแลนด์
ลักษณะสำคัญ เป็นโคที่แข็งแรง แทะเล็มหญ้าเก่ง แม่โคโตเต็มที่หนักประมาณ 544 กก. พ่อโคหนักประมาณ 861 กก. มีสีขาว - น้ำตาลแดง เขามีลักษณะโค้งและกางออก

พันธุ์แอร์ไซร์จัดเป็นพันธุ์ที่ให้นมสูงในลำดับที่สามระหว่างพันธุ์โคนมด้วยกันปริมาณน้ำนมโดยเฉลี่ยประมาณ 5,307 กก./ปี เปอร์เซ็นต์ไขมันนมประมาณ ร้อยละ 4 จัดเป็นลำดับที่สี่ในกลุ่มพันธุ์หลัก


บราวน์สวิส ( Brown Swiss )



ถิ่นกำเนิด สวิสเซอร์แลนด์
ลักษณะสำคัญ มีสีน้ำตาลล้วน จมูกและลิ้นมีสำดำ เขาโค้งมาด้านหน้าชี้ขึ้น บราวน์สวิสเป็นโคที่มีโครงร่างใหญ่ ตัวเมียโตเต็มที่ประมาณ 680 กก. ส่วนตัวผู้หนักประมาณ 907 กก. โคตัวเมียเป็นสาวช้า กว่าพันธุ์อื่นๆ พันธุ์นี้ทนร้อนได้ดี นิยมนำพ่อโคผสมกับแม่โคเนื้อเพื่อได้ลูก ผสมสำหรับขุน
บราวน์สวิสจัดเป็นโคที่ให้นมสูงเป็นลำดับสองรองลงมาจากโคพันธุ์โฮลสไตน์-ฟรีเซียน ค่าเฉลี่ยของการให้นมประมาณ 5,488 กก./ปี ไขมันนมประมาณร้อยละ 4.1 จัดเป็นลำดับที่สามในกลุ่มพันธุ์โคนมหลัก


เกิร์นซี ( Guernsey )



ถิ่นกำเนิด เกาะ Guernsey บริเวณช่องแคบอังกฤษ-ฝรั่งเศษ
ลักษณะสำคัญ มีสีน้ำตาลเหลืองแต้มขาว เขาโค้งออกไปด้านหน้า เป็นสาวเร็ว เชื่อง แม่โคโตเต็มที่หนักประมาณ 499 กก. พ่อโคหนัก 816 กก.
ให้นมเป็นลำดับที่สี่ เฉลี่ยประมาณ 4,808 กก./ปี ไขมันนม ร้อยละ 5 จัดเป็นลำดับที่สองรองจากพันธุ์เจอร์ซีในกลุ่มพันธุ์หลัก น้ำนมของโคพันธุ์นี้มีสีออกเหลือง


โฮลสไตน์ ฟรีเซียน ( Holstein-Friesian )


ถิ่นกำเนิด เนเธอแลนด์
ลักษณะสำคัญ เป็นพันธุ์โคที่นิยมเลี้ยงกันมาก เพราะให้นมสูงที่สุดจัดเป็นอันดับหนึ่ง เฉลี่ยประมาณ 6,577 กก./ปี ไขมันร้อยละ 3.5 ต่ำที่สุดในบรรดาพันธุ์โคนม โคพันธุ์นี้มีสีขาว-ดำ จึงเรียกกันอีกชื่อว่าพันธุ์ขาว-ดำ (Black and White) ลักษณะเขาไปด้านหน้าและโค้งเข้า
โคพันธุ์นี้จัดเป็นโคนมพันธุ์ใหญ่ที่สุด แม่โคโตเต็มที่หนักประมาณ 680 กก. พ่อโคหนักประมาณ 998 กก. มีเต้านมขนาดใหญ่ เล็มหญ้าเก่ง กินจุ ปรับตัวเก่ง


เจอร์ซี ( Jersey )



ถิ่นกำเนิด เกาะเจอร์ซี บริเวณช่องแคบอังกฤษ
ลักษณะที่สำคัญ มีสีครีมไปจนสีน้ำตาลเหลืองออกไปทางดำก็มี เนื้อ จมูก (muzzle) มีสีีดำ จัดเป็นโคนมพันธุ์ที่มีขนาดเล็กที่สุด แม่โคมีน้ำหนักโตเต็มที่เฉลี่ยประมาณ 453 กก. พ่อพันธุ์หนักประมาณ 725 กก. เขาโค้งเข้าลาดไปด้านหน้า
โคเจอร์ซีมีเต้านมที่สวยงาม การยึดเกาะเต้านมดี ปรับตัวในการกินอาหารได้เก่ง แม่โคค่อนข้างจะขี้ตื่น ให้นมเฉลี่ยประมาณ 4,536 กก./ปี ไขมันนมเฉลี่ยร้อยละ 5.4 สูงเป็นอันดับหนึ่ง


ข้อมูลอ้างอิงจาก
หนังสือสัตวศาสตร์ และการผลิตสัตว์สัตว์เบื้องต้น; การเลี้ยงโคนม โดย ผศ.ดร. บุญเสริม ชีวะอิสระกุล


Agriculture Sites Directory

read more “พันธุ์โคนมที่สำคัญ”

การควบคุมและป้องกันโรคโคนม

เขียนโดย Add Blogger วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552

โรคโคนมและโคเนื้อ เกิดเจ็บป่วยด้วยโรคแบบเดียวกัน แต่บางโรคเกิดขึ้นกับโคนมบ่อยกว่าโคเนื้อ โรคโคนมบางโรค เชื้อสาเหตุสามารถติดต่อมาถึงคนโดยผ่านทางน้ำนม ดังนั้นคนที่บริโภคน้ำนมดิบที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อโรคจึงมีโอกาสติดเชื้อโรคจากโคนมได้ เช่น วัณโรค (Tuberculosis) และโรคบรูเซลโลซิล (Brucellosis) น้ำนมโคที่จะได้คุณภาพสูงโคนมจะต้องถูกควบคุมตรวจสอบโรคบางโรคเป็นประจำ โรคของโคนมที่น่าสนใจบางโรค ได้แก่

เต้านมอักเสบ



เป็นโรคที่มักเกิดขึ้นกับโคนมและมีผลเสียหายต่อการให้น้ำนมและสุขภาพโค การเกิดโรคเต้านมอักเสบ สร้างความเสียหายดังนี้
  • การให้น้ำนมของแม่โคลดลง
  • ทำให้เสียเวลาในการดูแลรักษา
  • เสียค่าใช้ยา และค่ารักษาพยาบาล
  • น้ำนมจากโคที่เป็นโรคเต้านมอักเสบต้องเททิ้ง
  • ทำให้ต้องคัดแม่โคออกจากฝูง

เต้านมอักเสบเกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ลุกลามเข้าไปในเต้านมโดยผ่านเข้าไปทางรูนม เชื้อสาเหตุมีมากมายหลายชนิด ที่พบบ่อยมักจะเป็นพวก Streptococcus หรือ Staphylococcus
โรคเต้านมอักเสบที่มีอาการรุนแรง โคจะแสดงอาการดังนี้
  • เต้านมอักเสบ
  • เต้านมบวม ร้อน บริเวณติดเชื้อเป็นไตแข็ง
  • น้ำนมลด
  • น้ำนมที่รีดได้ผิดปกติ เช่น น้ำนมจับตัวเป็นเส้น มีตะกอนสีเหลือง มีเลือดปน
  • แม่โคไม่กินอาหาร ซึม มีไข้
Streptococcus

Staphylococcus

อาการเต้านมอักเสบเรื้อรัง โคมีอาการดังนี้
  • น้ำนมที่รีดได้ผิดปกติ (มีตะกอน เป็นเกล็ด นมใส)
  • เต้านมบวมและแข็ง ต่อมาอาจจะหายเป็นปกติ
  • การให้น้ำนมของแม่โคลดลง

การป้องกันและรักษาโรคเต้านมอักเสบทำได้โดย
1. รักษาความสะอาดของคอก อุปกรณ์ และทุกขั้นตอนของการรีด
2. ใช้น้ำสะอาดหรือน้ำผสมน้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดเต้านมให้สะอาด แล้วเช็ดด้วยผ้าสะอาดก่อนรีดทุกครั้ง
3. อย่าใช้เวลารีดนมนานเกินไป รีดนมให้หมดเต้า แล้วจุ่มหัวนมหรือเช็ดซ้ำด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทันทีที่รีดเสร็จ
4. อย่าเปลี่ยนคนรีดโดยไม่จำเป็น และรีดให้ตรงเวลา
5. ตรวจเช็คน้ำนมทุกเต้าก่อนรีดลงถังโดยรีดใส่ภาชนะสีเข้ม และถ้าพบความผิดปกติ ให้รีดไปทิ้งห่างไกลจากคอก แล้วล้างมือให้สะอาด
6. รีดโคเต้านมอักเสบเป็นตัวสุดท้าย และรีดเต้าที่อักเสบเป็นเต้าสุดท้ายด้วย
7. รักษาทันทีที่พบว่าโคเต้านมอักเสบ แล้วรีบแจ้งหรือขอคำแนะนำจากสัตวแพทย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่เป็นรุนแรง (ดูรายละเอียดจากเรื่องยาสอดเต้านม)
8. ควรสอดยาป้องกันเต้านมอักเสบให้แก่โคที่เคยเป็นโรคนี้เมื่อหยุดรีดนม


รกค้าง (Retained placenta)
การเกิดรกค้างหมายถึงว่าหลังคลอดลูกแม่โคไม่ได้ขับรกออกมาในช่วง 12-14 ชั่วโมง ปกติแล้วร้อยละ 10-20 ของแม่โคมักจะเกิดรกค้าง ถ้าเราเกิดขึ้นบ่อยครั้งสูงกว่าเกณฑ์ปกติแสดงว่าผู้เลี้ยงควรดูแลเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด สาเหตุของรกค้างเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
  • เกิดการติดเชื้อโรคในช่องอวัยวะสืบพันธุ์ของแม่โคขณะอุ้มท้อง
  • แม่โคได้รับวิตามิน A หรือ E ธาตุไอโอดีน และซิลิเนียมไม่เพียงพอ
  • แคลเซียมและฟอสฟอรัสในอาหารไม่สมดุล
  • แม่โคอ้วนมากเกินไป (ได้รับอาหารข้นมากเกินไป)
  • เกิดความเครียดเนื่องจากคลอดลูกเร็วเกินไป

การจัดการที่ดีช่วยลดการเกิดค้างได้ กรณีที่เกิดรกค้างกับแม่โคให้ปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อรักษาต่อไป

ไข้นม (Milk fever)
ไข้นมเกิดจากการขาดแคลเซียมในเลือด มักเกิดกับแม่โคที่มีอายุน้อย แม่โคที่ให้นมสูง มักเกิดภายใน 2-3 วันหลังคลอดลูก

อาการของไข้นม ประกอบด้วย
  • แม่โคเบื่ออาหาร
  • แม่โคมีอาการตื่นเต้น
  • ซึม ตัวเย็น เนื้อจมูก (muzzle) แห้ง
  • เป็นอัมพาต ล้มลงนอน เอาหัวพาดไปกับลำตัว
  • ต่อมานอนเอาข้างลง เกร็งยืดตัวหัวออก
  • มีอาการท้องอืด

การป้องกันทำได้โดยการจัดสัดส่วนอาหารให้มีโภชนะสมดุลปรับอัตราส่วน Ca : P ให้ถูกต้อง การรักษาสัตว์ป่วยทำได้โดยการฉีดยาสารละลายแคลเซียมเข้าเส้นเลือด


การป้องกันโรคโคนม

โรคเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำความเสียหายให้แก่ผู้เลี้ยงโคนมไม่น้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคติดต่อร้ายแรง ซึ่งถ้า เกิดขึ้นกับฟาร์มใด อาจทำให้ถึงกับต้องเลิกล้มกิจการได้ การป้องกันโรคโคนมควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
  • เลี้ยงแต่โคที่แข็งแรงสมบูรณ์และปลอดจากโรค ไม่ควรเลี้ยงโคที่อ่อนแอโคที่เป็นเรื้อรังรักษาไม่หายขาด โรคทางกรรมพันธุ์ เช่น โรคไส้เลื่อน, โรคติดต่อร้ายแรง เช่นโรคแท้งติดต่อหรือวัณโรค เป็นต้น
  • ให้อาหารที่มีคุณภาพดีและมีจำนวนเพียงพอ ถ้าให้อาหารไม่ถูกต้องเพียงพอ หรือให้อาหารเสื่อมคุณภาพ หรือมีสิ่งปลอมปนอาจทำให้โคเป็นโรคไข้น้ำนม, โรคขาดอาหาร รวมทั้งทำให้อ่อนแอเกิดโรคอื่น ๆ ได้ง่ายขึ้น ดังนั้นเกษตรกรควรซื้ออาหารจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และระวังอาหารที่เป็นพิษ เช่นมีเชื้อรา พืชที่พ่นยาฆ่า แมลง เป็นต้น
  • จัดการเลี้ยงดูและป้องกันโรคติดต่อร้ายแรงให้เหมาะสม สำหรับข้อนี้เป็นวิธีการลงมือปฏิบัติที่ค่อนข้าง สับสน เพื่อให้เข้าใจง่าย สะดวกแก่การปฏิบัติ จึงขอแยกแยะออกเป็นข้อ ๆ ดังนี้
  1. คอกคลอดควรได้รับการทำความสะอาด และใช้ยาฆ่าเชื้อพ่นหรือราดทิ้งไว้ 2-3 อาทิตย์ก่อนนำแม่โค เข้าคลอด
  2. ลูกโคที่เกิดใหม่ต้องล้วงเอาเยือกเมือกที่อยู่ในจมูกปากออกให้หมดเช็ดตัวลูกโคให้แห้ง
  3. สายสะดือลูกโคที่เกิดใหม่ต้องใส่ทิงเจอร์ไอโอดีนให้โชกและใส่ยากันแมลงวันวางไข่ทุกวันจนกว่าสาย สะดือจะแห้ง
  4. ให้ลูกโคกินนมน้ำเหลืองโดยเร็วถ้าเป็นไปได้ควรให้กินภายใน 15 นาทีหลังคลอด
  5. ทำความสะอาดคอกลูกโค เช่นเดียวกันคอกคลอดก่อนนำลูกโคเข้าไปเลี้ยง
  6. ควรเลี้ยงลูกโคในคอกเดี่ยวเฉพาะตัว
  7. เครื่องมือเครื่องใช้เช่น ถังนมที่ใช้เลี้ยงลูกโคไม่ควรปะปนกัน
  8. ให้ลูกโคกินนมไม่เกิน 10% ของน้ำหนักตัว แบ่งออกเป็น 2 ครั้งต่อวัน
  9. หัดให้ลูกโคกินอาหารและหญ้าโดยเร็ว (เมื่อลูกโคอายุได้ประมาณ 1 อาทิตย์) อาหารที่เหลือต้องกวาดทิ้ง ทุกวัน น้ำสะอาดควรมีให้กินตลอดเวลา
  10. ลูกโคต้องตัวแห้งเสมอ วัสดุที่ใช้รองนอนต้องเปลี่ยนทุกวัน
  11. แยกลูกโคที่อายุต่างกันให้อยู่ห่างกัน
  12. ถ่ายพยาธิเมื่อลูกโคอายุ 3 เดือน และถ่ายซ้ำอีกปีละ 1-2 ครั้งหรือตามความเหมาะสม
  13. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคแท้งติดต่อสะเตรน 19 ให้แก่ลูกโคเพศเมีย เมื่อลูกโคอายุ 3-8 เดือน
  14. เมื่อลูกโคหย่านมต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อร้ายแรงดังนี้
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าต้องฉีดให้ครบ 3 ชนิด (เอ, เอเชียวันและโอ) และฉีดซ้ำทุก 6 เดือน
  • ฉีดวัคซีนโรคเฮโมรายิกเซพติซิเมีย (โรคคอบวม) และฉีดซ้ำทุก 6 เดือน
  • ฉีดวัดซีนโรคแอนแทรกซ์ (โรคกาลี) และฉีดซ้ำทุกปี
15. พ่นหรืออาบยาฆ่าเห็บทุก 15 วัน หรือตามความเหมาะสม เช่น อาจจะอาบหรือพ่นทุก 1 เดือนหรือ นานกว่านี้ก็ได้
16. แม่โคที่แสดงอาหารแบ่งนานเกิน 3 ชั่วโมงแล้วไม่สามารถคลอดลูกได้ หรือแม่โคที่คลอดลูกแล้วมีรก ค้างเกิน 12 ชม. ควรตามสัตวแพทย์
17. จัดการป้องกันโรคเต้านมอักเสบโดยเคร่งครัดดังนี้
บริเวณคอกต้องแห้ง ไม่มีที่ชื้นแฉอะแฉะ เป็นโคลนตมไม่มีวัตถุแหลมคม เช่นรั้ว ลวดหนาม ตาปู
  • รีดนมตามลำดับโดยรีดโคสาวก่อน แล้วรีดโคที่มีอายุมากขึ้น ส่วนโคที่เป็นโรคให้รีดหลังสุด
  • ก่อนรีดต้องเช็ดเต้านมด้วยยาฆ่าเชื้อ เช่น น้ำคลอรีน ผ้าที่ใช้เช็ดเต้านมควรใช้เฉพาะตัวไม่ปะปนกัน

read more “การควบคุมและป้องกันโรคโคนม”

โรงรีดนม (Milking parlor)

เขียนโดย Add Blogger

เป็นโรงเรือนหรือส่วนหนึ่งของคอกที่จัดทำขึ้นสำหรับรีดนมโดยเฉพาะ แม่โคจะถูกต้อนให้เข้าเพื่อรีดนม เมื่อเสร็จแล้วตัวใหม่ก็จะถูกต้อนเข้ามาแทน การรีดนมมักจะใช้เครื่องรีด บริเวณที่โคยืนจะสูกกว่าคนรีด ทำให้ผู้รีดนมสามารถยืนทำงานอย่างสะดวก

ลักษณะของที่รีดนมที่นิยมมี 4 แบบ คือ

  1. แบบก้างปลา (Herringbone parlor)
  2. แบบเปิดข้าง (Side-opening parlor)
  3. แบบม้าหมุน (Carousel หรือ Rotary parlor)
  4. แบบหลายเหลี่ยม (Polygon หรือ Diamond parlor)

ภาพตัวอย่างโรงรีดนม

แบบก้างปลา (Herringbone parlor)


แบบเปิดข้าง (Side-opening parlor)


แบบม้าหมุน (Carousel หรือ Rotary parlor)


แบบหลายเหลี่ยม (Polygon หรือ Diamond parlor)

read more “โรงรีดนม (Milking parlor)”

โรงเรือนโคนม

เขียนโดย Add Blogger

การเลี้ยงโคนมมีระบบการเลี้ยงใหญ่ๆ 2 แบบ คือ

1. การเลี้ยงแบบผูกยืนโรง (Stall barns)
แม่โคแต่ละตัวถูกผูกให้ยืนอยู่ในซองภายในโรงเรือนอาจจะมีการปล่อยให้โคออกกำลังบ้างเป็นครั้งคราว แม่โคจะกินอาหารและถูกรีดนมในซอง ดังรูปภาพประกอบ




2. การเลี้ยงโคแบบปล่อยอิสระในคอก (Free stall barn)
การเลี้ยงแบบนี้เป็นวิธีการเลี้ยงจำกัดบริเวณให้โคอยู่ภายในคอกขังซึ่งแบ่งส่วนของคอกออกเป็นที่สำหรับโคนอน บริเวณกินอาหาร ลานเดินออกกำลัง ที่พักรีดนม และสถานที่สำหรับรีดนม แม่โคสามารถเดินไปมาอย่างอิสระในคอกได้ ดังรูปภาพประกอบ





read more “โรงเรือนโคนม”

การเลี้ยงโคนม

เขียนโดย Add Blogger

การเลี้ยงดูลูกโค
ก่อนที่จะพูดถึงการเลี้ยงลูกโค ควรจะทำความรู้รู้จักกับนมน้ำเหลืองก่อน นมน้ำเหลือง คือน้ำนมที่ผลิต ออกมาจากแม่โคในระยะแรกคลอดจะผลิตออกมานานประมาณ 2-5 วัน ต่อจากนั้นก็จะเปลี่ยนเป็นนมธรรมดา ลักษณะของนมน้ำเหลืองจะมีสีขาวปนเหลือง มีรสขม มีคุณสมบัติคือ จะมีภูมิคุ้มโรค อีกทั้งช่วยป้องกันโรคที่ เกิดกับระบบลำไส้และผิวหนังและยังเป็นยาระบายท้องอ่อน ๆ ของลูกโคได้อีกด้วย มีคุณค่าทางอาหารสูงเมื่อ ลูกโคคลอดมาใหม่ ๆ ควรแยกลูกโคออกจากแม่โคทันที และควรจะให้กินนมน้ำเหลืองจากแม่โคภายใน 6 ชั่วโมงหลังคลอด เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงโดยเร็ว ลูกโคควรได้กินนมน้ำเหลืองราว 2-5 วัน ให้กินวันละ 2 เวลา เช้า, เย็น

วิธีการฝึกให้ลูกโคกินนม

อาจฝึกได้โดยให้ลูกโคกินนมจากถังพลาสติกหรืออะลูมิเนียมหัดให้กินโดยใช้นิ้วมือจุ่มลงในน้ำนมให้เปียก แล้วแหย่เข้าไปในปากลูกโคให้ลูกโคดูด แล้วกดหัวลูกโคให้ปากจุ่มลงไปในน้ำนม ลูกโคจะดูดนิ้วมือ ขณะเดียวกันน้ำนมก็จะไหลเข้าไปได้หัดดูดนิ้วมือเช่นนี้ประมาณ 3-4 ครั้งต่อ ๆ ไปจึงค่อย ๆ ดึงนิ้วมือออก ปล่อยให้ลูกโคดูดกินเองต่อไป ทำเช่นนี้ประมาณ 1-3 วัน ลูกโคก็จะค่อย ๆ เคยชิน สามารถดูดจากถังเองได้
วิธีเลี้ยงลูกโคระยะแรกอาจปฏิบัติได้ดังนี้


นมแม่ ให้ลูกโคกินต่อหลังจากนมน้ำเหลืองหมดจนลูกโคอายุได้ 1 เดือน (4 สัปดาห์) แล้วจึงให้กินนมเทียม หรือนมผงละลายน้ำต่อจนอายุได้ 3-4 เดือน (12-16 สัปดาห์) จึงหย่านม
นมเทียม หรือนมผงละลายน้ำ สำหรับการเลี้ยงลูกโคเพศเมีย ควรให้กินต่อจากนมแม่เมื่ออายุได้ 1 เดือน (4 สัปดาห์) แต่สำหรับลูกโคเพศผู้ ควรให้กินนมแม่อย่างน้อย 1 สัปดาห์ จึงเริ่มให้กินนมเทียมหรือนมผง ละลายน้ำ และให้กินต่อไปจนหย่านมหรืออายุได้ประมาณ 3-4 เดือน (12-16 สัปดาห์)

หมายเหตุ การเลี้ยงดูลูกโคนมดังกล่าวมาแล้ว เป็นการเลี้ยงดูลูกโคแบบ "ให้นมจำกัดหรือให้อาหารข้น ลูกโคอ่อน" ไม่ว่าเลี้ยงดูด้วยนมแม่หรือนมเทียมกล่าวคือ การให้นมควรจะให้ในปริมาณที่เกือบคงที่ตลอดไป คือประมาณ 10% ของน้ำหนักตัว ตัวอย่างเช่น ลูกโคเกิดมามีน้ำหนัก 30 กิโลกรัม ก็ให้นมวันละ 3-4 กิโลกรัม ตลอดไปโดยแบ่งให้เข้า 2 กิโลกรัม บ่าย 2 กิโลกรัม จนอายุหย่านมในขณะเดียวกันควรตั้งอาหารข้น สำหรับลูกโคและหญ้าแห้งคุณภาพดีวางไว้ให้ลูกโคได้ทำความรู้จักและหัดกิน ตั้งแต่ลูกโคอายุได้ 1 สัปดาห์ จนถึง 12 สัปดาห์ต่อจากนั้นให้กินหญ้าสด วิธีการดังกล่าวเป็นการหัดโดยการบังคับให้ลูกโค ช่วยเหลือตัวเอง โดยเร็วที่สุดเป็นวิธีการที่ประหยัดนมแม่โคได้มาก และรวมทั้งนมเทียมด้วย เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการเลี้ยงดู ลูกโค
อนึ่ง สำหรับวิธีการผสมนมเทียม หรือนมผงละลายน้ำเราอาจใช้การผสมในอัตราส่วน 1 ต่อ 7 ถึง 10 ส่วน แต่ที่นิยมใช้คือ 1 ต่อ 8 หรือ 1 ต่อ 9 ส่วน ตัวอย่างเช่นถ้าใช้นมผง 1 กิโลกรัมก็ต้องผสมน้ำ 8 กิโลกรัม หรือ ถ้าใช้นมผง ฝ กิโลกรัม ก็ต้องผสมน้ำ 4 กิโลกรัม ในการผสมแต่ละครั้งควรคนให้เข้ากัน และต้องเติมน้ำมัน ตับปลาหรือวิตามินลงไปด้วยการผสมนมผผงแต่ละครั้งมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับท่านมีลูกโคจำนวนมาก น้อยเพียงใด


การทำเครื่องหมาย
ลูกโคที่เกิดออกมาโดยมีพ่อและแม่พันธุ์เดียวกัน พ่อตัวเดียวกันก็ย่อมจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน เมื่อโตขึ้น อาจจะสัตว์ไม่ได้ หรือจำผิดพลาดได้ว่าเกิดเมื่อไร พ่อแม่ชื่ออะไร หรือเบอร์อะไร และเมื่อทำการซื้อ-ขาย จะทำประวัติก็เป็นการยุ่งยากลำบาก ดังนั้นลูกโคจึงจำเป็นที่จะต้องทำเครื่องหมายเพื่อแสดงให้ทราบว่าเกิดจากพ่อแม่พันธุ์อะไร เบอร์อะไร เมื่อไหร่ ซึ่งจะเป็นการสะดวกในการทำประวัติ และป้องกันรักษาโรค ซึ่งอาจทำได้หลายวิธีด้วยกันอาทิเช่น ทำเครื่องหมายโดยตัดหู ตีเบอร์ติดหู ตีเบอร์ไฟ หรืออื่น ๆ เป็นต้น และเมื่อลูกโคอายุได้ประมาณ 3-6 สัปดาห์ หรือประมาณ 1-2 เดือน ก็ควรทำการจี้เขาเพื่อทำไม่ให้มีเขาอันจะเป็นอันตรายต่อฝูงโคหรือเจ้าของสัตว์เองได้


การเลี้ยงโครุ่น-โคสาว
เมื่อลูกโคอายุได้ 4 เดือน ระบบการย่อยได้พัฒนาดีขึ้นในช่วงนี้อัตราการตายจะต่ำ หรืออาจจะกล่าวได้ว่าพ้นช่วงระยะอันตรายแล้วจากระยะนี้ถึงระยะโครุ่น คืออายุประมาณ 180-205 วัน ( น้ำหนักประมาณ 120-150 กิโลกรัม ) ซึ่งระยะนี้ถึงระยะโครุ่น คืออายุประมาณ 180-205 วัน (น้ำหนักประมาณ 120-150 กิโลกรัม) ซึ่ง ระยะนี้โคจะสามารถกินหญ้าได้ดีแล้ว จากนั้นก็จะถึงระยะการเป็นโคสาว (น้ำหนักประมาณ 200-250 กิโลกรัม) ต่อไปก็จะถึงระยะเกณฑ์ผสมพันธุ์ คืออายุได้ประมาณ 18-22 เดือน (น้ำหนักประมาณ 250 กิโลกรัม หรือประมาณ 60-70% ของน้ำหนักเมื่อโตเต็มที่) ในช่วงดังกล่าวนี้ โคจะเจริญอย่างรวดเร็ว ควรเพิ่มอาหารผสมให้บ้างเป็นวันละ 1-2 กิโลกรัม และให้หญ้ากินเต็มที่ ในกรณีที่เลี้ยงแบบปล่อยลงใน แปลงหญ้าก็จะเป็นการดียิ่งขึ้น เพราะโคได้ออกกำลังกายและยังเป็นการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและแรงงาน ได้มากอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามในการให้อาหารผสม (อาหารข้น) แก่โครุ่น-โคสาว ในปริมาณมากน้อย เท่าใดนั้นให้พิจารณาถึงคุณภาพของหญ้าที่มีอยู่ในขณะนั้นเป็นสำคัญ


การเลี้ยงและดูแลโครีดนม
แม่โคจะให้นมหรือมีน้ำนมให้รีดก็ต่อเมื่อหลังจากคลอดลูกในแต่ละครั้งซึ่งจะให้นมเป็นระยะยาว, สั้น มากน้อยต่างกกันขึ้นกับความสามารถของแม่โคแต่ละตัว, พันธุ์และปัจจัยอื่น ๆ อีก แต่โดยทั่วไปจะรีดนม ได้ประมาณ 5-10 เดือน นมน้ำเหลืองควรจะรีดให้ลูกโคกินจนหมดไม่ควรนำส่งเข้าโรงงานเป็นอันขาดและ ควรให้อาหารแก่นมโคอย่างเพียงพอเพื่อแม่โคจะได้ไปสร้างน้ำนมและเสริมสร้างร่างกายส่วนอื่น ๆ ที่ยังไม่ สมบูรณ์ได้อย่างเพียงพอ ภายหลังจากคลอดลูกโดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 30-70 วันหลังจากคลอดมดลูกจะ เริ่มกลับเข้าสู่สภาพปกติ แม่โคจะเริ่มเป็นสัดอีกแต่อย่างไรก็ตามเมื่อแม่โคแสดงอาการเป็นสัดภายหลังคลอด น้อยกว่า 25 วันยังไม่ควรให้ผสม เพราะมดลูกและอวัยวะต่าง ๆ ในระบบสืบพันธุ์เพิ่งฟื้นตัวใหม่ ๆ ยังไม่เข้าสู่ สภาพปกติ ในทางปฏิบัติส่วนใหญ่ควรจะรอให้เป็นสัดครั้งที่ 2 เกิดขึ้นจึงค่อยผสมซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วจะใช้ เวลาประมาณ 45-72 วัน หลังจากคลอด


read more “การเลี้ยงโคนม”
Translation
   
Blogumulus by Roy Tanck and Amanda FazaniDistributed by CahayaBiru.com

ผู้ติดตาม

blog search directory
blog directory